วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แมกเนติก คอนแทคเตอร์




 Specifications

กระแสที่ใช้งาน Rated Operating Current (AC3) ขนาดมอเตอร์สูงสุด Max. Motor Capacity 3 Phase (AC3) Thermal Current (AC1) คอนแทคช่วย Standard Auxiliary Contact
220-240V 380-440V 220-240V KW(HP) 380-440V KW(HP) NO NC
1192.5(3.3)4(5.5)201NO-

Detail
     เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานโดยอำนาจแม่เหล็กในการเปิดปิดหน้าสัมผัสในการควบคุมวงจรมอเตอร์
หรือเรียกว่า สวิตช์แม่เหล็ก (Magnetic Switch) หรือคอนแทคเตอร์ (Contactor) ก็ได้

ข้อดี ของการใช้รีเลย์และแมคเนติกส์คอนแทคเตอร์เมื่อเทียบกับสวิตช์อื่น
      1. ให้ความปลอดภัยสำหรับผู้ควบคุมสูง
      2. ให้ความสะดวกในการควบคุม
      3. ประหยัดเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ
ชนิดและขนาดของแมคเนติกคอนแทกเตอร์
     คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลด
และการนำไปใช้งานมีดังนี้
              AC 1 : เป็นแมคเนติกคอนแทกเตอร์ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มี
                        อินดัดทีฟน้อยๆ
              AC 2 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับโหลหดที่เป็นสปริงมอเตอร์
              AC 3 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหลดที่เป็นมอเตอร์
                        กรงกระรอก
              AC 4 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับการสตาร์ท-หยุดมอเตอร์ วงจร jogging
                        และการกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก    
 การพิจารณาเลือกไปใช้งาน
     ในการเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ในการใช้งานให้เหมาะสมกับมอเตอร์นั้น จะพิจารณาที่กระแสสูงสุด
ในการใช้งาน(reated current) และแรงดัน ของมอเตอร์ ต้องเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ที่มีกระแสสูงกว่า
กระแสที่ใช้งานของมอเตอร์ที่มีแรงดันเท่ากัน ในการพิจารณาเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ใช้งานควรพิจารณาดังนี้
                - ลักษณะของโหลดและการใช้งาน
                - แรงดันและความถี่
                - สถานที่ใช้งาน
                - ความบ่อยครั้งในการใช้งาน
                - การป้องกันจากการสัมผัสและการป้องกันนํ้า
                - ความคงทนทางกลและทางไฟฟ้า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น