ตัวเก็บประจุ
บางตัวจะพิมพ์บอกค่าตัวเก็บประจุที่ตัว อุปกรณ์เลย ซึ่งถ้าจะทำอย่างนั้นได้ต้องเป็นตัวเก็บประจุที่มีเนื้อที่พอที่จะให้พิมพ์ ค่าไว้บนตัวอุปกรณ์ได้ รวมถึงค่าแรงดันที่ใช้งาน
แล้วในกรณีที่พื้นที่ของตัวเก็บประจุไม่พอหรือไม่เหมาะที่จะพิมพ์ตัว หนังสือเยอะแยะ จะทำยังไง! ก็มีคนคิดค้นรหัส 3 หลักพิมพ์ติดไว้ที่ตัวเก็บประจุเพื่อเป็นการบอกค่าในหน่วยพิโคฟารัด(pF) เท่านั้น โดยที่รหัสสองตัวแรกจะเป็นจำนวนตัวเลข ส่วนตำแหน่งที่ 3 จะบอกเป็นจำนวนเลขศูนย์ จากนั้นก็ใส่หน่วยพิโคฟารัดต่อท้ายได้เลย เช่น 103 จะเท่ากับ 10000 pF แต่บางตัวก็บอกแค่2 รหัส นั่นหมายความว่าค่าของตัวเก็บประจุไม่มีเลขศูนย์ต่อท้าย ให้ใช้ค่า 2 หลักแรกเป็นค่าตัวเก็บประจุเลย เช่น 22 จะเท่ากับ 22 pF ซึ่งไม่มีตำแหน่งที่ 3 ก็ไม่ต้องใส่เลขศูนย์ไป ส่วนหน่วยก็ยังเหมือนเดิมคือ pF.
สำหรับตัวเก็บประจุที่มีค่ามากกว่า 1000 pF ทางผู้จำหน่ายอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะมีรายการบอกเป็น uF สำหรับใครที่ยังไม่ชำนาญในเรื่องหน่วยอาจจะต้องหัดหน่อย เพราะเวลาอ่านค่าที่ได้จากตัวอุปกรณ์จะมีหน่วยเป็นพิโคฟารัด ซึ่งผมได้เตรียมค่าตารางแปลงหน่วยของตัวเก็บประจุไว้ข้างล่างแล้ว ซึ่งเป็นรายการที่ใช้บ่อยๆ ส่วนใครไม่อยากจำหรือนำมาดูบ่อยๆ ต้องหัดแปลงหน่วยให้เป็นนะครับ
Capacitor Value Referrence | |
Marking | Value |
nn (number 01 – 99) | nn pF |
101 | 100 pF |
102 | 0.001 μF |
103 | 0.01 μF |
104 | 0.1 μF |
221 | 220 pF |
222 | 0.0022 μF |
223 | 0.022 μF |
224 | 0.22 μF |
331 | 330 pF |
332 | 0.0033 μF |
333 | 0.033 μF |
334 | 0.33 μF |
471 | 470 pF |
472 | 0.0047 μF |
473 | 0.047 μF |
474 | 0.47 μF |
สำหรับการบอกค่าตัวเก็บประจุยัง มีอีกแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นกัน โดยใช้ตัวเลข 2 ตัวและตัวอักษร ยกตัวอย่างเช่น 4R1 ค่าที่ได้ให้เปลี่ยน R เป็นจุดทศนิยมจะได้ค่า 4.1 ซึ่งการบอกแบบนี้จะไม่บอกหน่วยมาด้วย ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งไมโครฟารัดและพิโคฟารัด อันนี้ต้องลองเอาไปวัดกับมิเตอร์ที่วัดค่าตัวเก็บประจุได้
มาถึงตัวสุดท้ายคือค่าความผิดพลาด โดยจะบอกค่าเป็นตัวอักษรตำแหน่งที่ 4 หลังตัวเลขสามหลักแรก เช่น 103Z จะมีความหมายว่า ซึ่งค่าที่อ่านได้อาจจะมีค่า +80% หรือ -20% ของ0.01 μF ซึ่งค่าความผิดพลาดและความหมายของแต่ละตัวอักษร แสดงตามตารางข้างล่าง
Capacitor Tolerance Markings | |
Code | Tolerance |
B | +/– 0.1 pF |
C | +/– 0.25 pF |
D | +/– 0.5 pF |
F | +/– 1 per cent |
G | +/– 2 per cent |
J | +/– 5 per cent |
K | +/– 10 per cent |
M | +/– 20 per cent |
Z | + 80 per cent, –20 per cent |
สำหรับการใช้งานตัวเก็บประจุนั้นมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นไดอิเล็กทริกที่ใช้กั้นระหว่างแผ่นเพลท ซึ่งถ้าในวงจรที่คุณต่อมีการระบุชนิดของตัวเก็บประจุแล้วแนะนำให้เลือกใช้ ตามที่ออกแบบมานะครับ แม้ว่ามันอาจจะใช้แทนกันได้ แต่อาจใช้ได้ในระยะสั้นๆ ถ้าในระยะยาวแล้วอาจมีปัญหาเรื่องความเสถียรได้ สำหรับตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลต์ จะเป็นตัวเก็ฐประจุแบบมีขั้ว ดังนั้นเวลาต่อใช้งานจำเป็นที่จะต้องดูขั้วให้ดี ซึ่งตำแหน่งขั้วลบจะมีเครื่องหมายบอกอยู่ที่ตัวอุปกรณ์แล้ว
หน้าตาของตัวเก็บประจุแบบต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น