การเลือกใช้ Potentiometer สำหรับปรับความเร็ว Motor ด้วย Inverter
การเลือกใช้ Volume คำที่เรียกกันติดปาก ซึ่งชื่อจริงที่ใช้เรียกกันในปัจจุบันนี้ก็คือ Potentiometer เพื่อนำมาต่อเข้ากับ inverter ใช้ในการปรับความเร็วรอบมอเตอร์ นั้นเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และใช้ต้นทุน น้อยที่สุด แต่ยังมีหลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกใช้ ไอ้เจ้าPotentiometer ตัวนี้ว่าควรจะเลือกใช้แบบไหน มันมีกี่ชนิด เพื่อจะได้เลือกใช้งานให้ถูกต้องตามความต้องการต่อไป
ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อทำให้กระแสและแรงดันภายในวงจร ได้ขนาดตามที่ต้องการ เนื่องจากอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์แต่ละตัวถูกออกแบบให้ใช้แรงดันและกระแสที่แตกต่างกัน ดังนั้นตัวต้านทานจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทและใช้กันมากในงานด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, เครื่องขยายเสียง ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
ชนิดของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานที่ผลิตออกมาในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ในกรณีที่แบ่งโดยยึดเอาค่าความ
ต้านทานเป็นหลักจะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
ต้านทานเป็นหลักจะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor)
2. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (Adjustable Resistor)
3. ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor)
สำหรับการใช้งาน เพื่อนำมาต่อ กับ inverter นั้น เราจะเลือกใช้ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor) โครงสร้างภายในทำมาจากคาร์บอน เซรามิค หรือพลาสติกตัวนำ ใช้ในงานที่ต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานบ่อย ๆ เช่นในเครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์ เพื่อปรับลดหรือเพิ่มเสียง, ปรับลดหรือเพิ่มแสงในวงจรหรี่ไฟ มีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่นโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer)หรือพอต (Pot)สำหรับชนิดที่มีแกนเลื่อนค่าความต้านทาน หรือแบบที่มีแกนหมุนเปลี่ยนค่าความต้านทานคือโวลลุ่ม (Volume) เพิ่มหรือลดเสียงมีหลายแบบให้เลือกคือ 1 ชั้น, 2 ชั้น และ 3 ชั้น เป็นต้น ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ไม่มีแกนปรับโดยทั่วไปจะเรียกว่า โวลลุ่มเกือกม้า หรือทิมพอต (Trimpot)
-โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer or Potentiometric) มีด้วยกัน 2 แบบ
(1) โพเทนชิโอมิเตอร์แบบเชิงเส้น (linear potentionmeter)
ใช้ในการวัดระยะทางที่เป็นเส้นตรง
(2) โพเทนชิโอมิเตอร์แบบเชิงมุม (rotary potentiometer)
(2) โพเทนชิโอมิเตอร์แบบเชิงมุม (rotary potentiometer)
ใช้สำหรับวัดระยะในลักษณะการหมุน โพเทนชิโอมิเตอร์แบบไวร์วาวด์หมุนได้ประมาณ 300 รอบ/นาที โพเทนชิโอมิเตอร์แบบต่อเนื่องอาจจะหมุนได้ถึง 2,000 รอบ/นาที
-ความละเอียด (Resolution) ของโพเทนชิโอมิเตอร์ คือการเปลี่ยนแปลงความต้านทานค่า
น้อยทีสุดเมื่อแขนโพเทนชิโอมิเตอร์เคลื่อนที่จากขดลวดช่วงหนึ่งไปยังอีกช่วงหนึ่ง
-การปรับสภาพสัญญาณ สัญญาณรบกวนของโพเทนชิโอมิเตอร์จะเกิดจากวัสดุที่ใช้ทำ
พบว่า ค่ารบกวนดังกล่าวเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิและกระแสของตัวมัน ดังนั้นเพื่อให้มีค่ารบกวนน้อยที่สุดจึงต้องรักษาแรงเคลื่อนที่จ่ายให้มีค่าต่ำสุด
น้อยทีสุดเมื่อแขนโพเทนชิโอมิเตอร์เคลื่อนที่จากขดลวดช่วงหนึ่งไปยังอีกช่วงหนึ่ง
-การปรับสภาพสัญญาณ สัญญาณรบกวนของโพเทนชิโอมิเตอร์จะเกิดจากวัสดุที่ใช้ทำ
พบว่า ค่ารบกวนดังกล่าวเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิและกระแสของตัวมัน ดังนั้นเพื่อให้มีค่ารบกวนน้อยที่สุดจึงต้องรักษาแรงเคลื่อนที่จ่ายให้มีค่าต่ำสุด
-โครงสร้างส่วนใหญ่จะใช้วัสดุประเภทคาร์บอน ผสมกับเซรามิคและเรซินวางบนฉนวน ส่วนแกนหมุนขา กลางใช้โลหะที่มีการยืดหยุ่นตัวได้ดี โดยทั่วไปจะเรียกว่าโวลลุ่มหรือ VR (Variable Resistor) มีหลายแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือแบบ A , B และ C
จะเห็นว่าโพเทนชิโอมิเตอร์มี 3 ขา ขาที่ 1 และ 2 จะมีค่าคงที่ส่วนขาที่ 3 เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามที่ต้องการ ส่วนรีโอสตาทนั้นจะมี 2 ขา แต่ในกรณีที่ต้องการต่อโพเทนชิโอมิเตอร์ให้เป็นรีโอสตาทก็ทำได้โดยการต่อขาที่ 3 เข้ากับขาที่ 2 ก็จะกลายเป็นรีโอสตา
อีกชนิดหนึ่งคือจำพวกฟิล์มคาร์บอนใช้วิธีการฉาบหรือพ่นฟิล์มคาร์บอนลงในสารที่มีโครงสร้างแบบเฟโนลิค (Phenolic) ส่วนแกนหมุนจะใช้โลหะประเภทที่ใช้ทำสปริงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น VR 100 KAหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน ต่อการหมุนในลักษณะของลอกการิทึม (Logarithmic)หรือแบบล๊อกคือเมื่อหมุนค่าความต้านทานจะค่อย ๆ เปลี่ยนค่า พอถึงระดับกลางค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนิยมใช้เป็นโวลลุ่มเร่งความดังของเสียง ส่วนแบบ B นั้นค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไปในลักษณะแบบลิเนีย (Linear) หรือเชิงเส้นคือค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นตามการหมุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากนิยมใช้ในวงจรชุดควบคุมความทุ้มแหลมและวงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น