จอ
LCD นี้ จะแสดงผลเป็นตัวหนังสือ แบบสีเดียว
โดยมักถูกนำไปใช้กับเครื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร แฟกซ์
เครื่องรับโทรศัพท์ หรือ เครื่องปริ้นท์เตอร์ต่างๆ หรือตามเครื่องมืออุตสาหกรรมต่างๆ มีหลายขนาดให้เลือก เช่น แบบ 8x1 หมายถึงแสดงผลได้สูงสุด 8 อักษร จำนวน 1 บรรทัด หรือแบบ 16x2 , 20x2 และแบบ 20x4 เป็นต้น ขนาดใหญ่สุดอาจจะมากถึง 40 ถึง 80 ตัวอักษรต่อบรรทัดเลยก็ได้
ตำแหน่งขา ของ LCD ชนิดไม่เกิน 80 ตัวอักษร
ขาที่ 1 Vss ต่อกับกราวด์
ขาที่ 2 Vccต่อกับไฟเลี้ยง 2.7V ถึง 5.5V
ขาที่ 3 Vo ต่อกับตัวต้านทานปรับค่าได้ 10k โอห์ม
ขาที่ 4 RS Register Select
ขาที่ 5 R/W Read/Write
ขาที่ 6 E Enable ใช้สัญญาณ Pulse ขอบขาลงในการทริก
ขาที่ 7 ข้อมูลตำแหน่งบิต 0 (ถ้าส่งข้อมูลแบบ 4 บิต ไม่ต้องต่อขานี้)
ขาที่ 8 ข้อมูลตำแหน่งบิต 1 (ถ้าส่งข้อมูลแบบ 4 บิต ไม่ต้องต่อขานี้)
ขาที่ 9 ข้อมูลตำแหน่งบิต 2 (ถ้าส่งข้อมูลแบบ 4 บิต ไม่ต้องต่อขานี้)
ขาที่ 10 ข้อมูลตำแหน่งบิต 3 (ถ้าส่งข้อมูลแบบ 4 บิต ไม่ต้องต่อขานี้)
ขาที่ 11 ข้อมูลตำแหน่งบิต 4
ขาที่ 12 ข้อมูลตำแหน่งบิต 5
ขาที่ 13 ข้อมูลตำแหน่งบิต 6
ขาที่ 14 ข้อมูลตำแหน่งบิต 7 / busy flag
ขาที่ 15 ขั้วหลอด LED ขา Anode ต่อกับแรงดันบวกไม่เกินแรงดันคร่อมหลอด LED
ขาที่ 16 ขั้วหลอด LED ขา Cathod ต่อกับกราวด์
|
ขาที่ 1 Vss ต่อกับ Ground ,ขาที่ 2 Vcc ต่อกับ ไฟเลี้ยงกระแสตรงไม่เกิน 5.5V
ขาที่ 3 Vo
ทำ
หน้าที่ปรับความสว่างของตัวหนังสือที่ปรากฏบนจอ LCD
โดยจะใช้แรงดันที่ได้จากการแบ่งแรงดัน (Voltage divider) จากความต้านทาน
R10k ในการปรับความสว่างของตัวหนังสือ
ขาที่ 4 RS Register Select
ทำหน้าที่บอก LCD controller ว่าข้อมูลที่จะส่งไป เป็นข้อมูลประเภทคำสั่ง หรือข้อมูลที่เป็นดาต้า
ขาที่ 5 Read/Write (เขียนข้อมูล R/W = 0 , อ่านข้อมูล R/W = 1)
ทำหน้าที่ในกำหนดว่าจะอ่าน หรือจะเขียนข้อมูลลงไปบน LCD
หรือจะอ่านข้อมูลที่อยู่ใน LCD ออกมา โดยทั่วไปแล้ว
เรามักจะเขียนข้อมูลลงไปแสดงผล มากกว่าที่จะอ่านข้อมูลจากจอ LCD กลับมา ดังนั้นแล้ว เราสามารถที่จะต่อขาที่ 5 กับกราวด์ได้ เพื่อประหยัดขาไมโครคอนโทรลเลอร์ที่จะต่อกับจอ LCD
ขาที่ 6 Enable (EN)
ขานี้ทำหน้าที่ในการสั่งให้ LCD อ่านข้อมูลจากขา RS และขาที่ 7 ถึงขาที่ 14 เข้าไปประมวลผลใน LCD controller โดยจะใช้ขอบสัญญาณขาลง ของ Pulse ในการทริกที่ขาที่ 6 Enable (EN)
ตั้งแต่ขาที่ 7 ถึงขาที่ 14 เป็นช่องทางการรับส่งข้อมูล โดยเราสามารถเลือกที่จะส่งข้อมูลคราวละ 8 บิต โดยใช้ทั้งหมด 8 ขา ใน
การส่งแต่ละครั้ง หรือจะเลือกส่งแบบคราวละ 4 บิต
แต่ต้องส่งสองครั้งต่อข้อมูลก็ได้ ซึ่งข้อดีของการส่งคราวละ 4 บิต
คือประหยัดขาไมโคร
คอนโทรลเลอร์ที่จะต่อกับ LCD
โดยในการส่งคราวละ 4 บิต เราจะใช้ขาตั้งแต่ ขา 11 ถึงขาที่ 14 ส่วนขาที่ 7 ถึงขาที่ 10 เราจะปล่อยลอยไว้หรือต่อลงกราวด์ก็ได้
ส่วนขาที่ 15, 16 สำหรับต่อไฟเลี้ยงให้หลอด LED Backlight ที่ทำให้จอสว่างขึ้น เพื่อการมองเห็นในที่มืด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น