วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่ 8 การสร้างภาพ 3 มิติ

ในบทนี้จะกล่าวถึงการสร้างภาพ 3 มิติ โดยจะแสดงภาพเสมือนจริงขึ้นมา ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ จะแสดงออกมาได้เหมือนกับของจริงพอสมควร ทำให้เรามองภาพรวมของแผ่น PCB ได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อนนำไปสร้างจริง


8.1 การหมุนภาพ 3 มิติ

หลังจากที่เราทำการสร้าง PCB เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องการดูภาพแบบ 3 มิติ ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. คลิกที่เมนู Output > 3D Visualization




2. วงจรที่ได้ออกแบบไว้ ก็จะแสดงขึ้นมาเป็นภาพ 3 มิติ ตามต้องการ




3. คลิกเมาส์ซ้ายที่รูปค้างไว้แล้ว เลื่อนเมาส์ไปในทิศทางตามต้องการ ก็จะสามารถเปลี่ยนมุมมองของรูป 3 มิติได้




8.2 การกำหนดค่าภาพ 3 มิติ

เราสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับรูป 3 มิติ ได้ดังนี้

1. คลิกที่เมนู Settings > Dimensions




2. ก็จะปรากฏหน้าต่าง Dimensions Settings ขึ้นมา เราสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกำหนดจนเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม




A. Board Thickness กำหนดความหนาของแผ่น PCB

B. Feature Thickness กำหนดความหนาของลายทองแดง, รูปอุปกรณ์

C. Height Clearance (top) กำหนดความสูงของช่องว่างด้านบน

D. Height Clearance (bottom) กำหนดความสูงของช่องว่างด้านล่าง




3. จากนั้นคลิกที่เมนู Settings > Colours




4. ก็จะปรากฏหน้าต่าง Colour Settings ขึ้นมา ซึ่งเราสามารถกำหนดสีต่าง ๆ ได้ตามต้องการกำหนดจนเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม



A. Board สีของแผ่น PCB

B. Copper สีลายทองแดง

C. Silk Screen สีรูปอุปกรณ์และอักษรบนแผ่น PCB

D. Through Holes สีรูที่เชื่อมต่อลายทองแดง ด้านบนกับด้านล่าง

E. Background สีพื้นหลัง



5. สีของรูป 3 มิติ ก็จะเปลี่ยนไปตามที่เรากำหนด




6. คลิกที่เมนู Settings > Camera




7. ที่ช่อง Viewing Angle กำหนดค่ามุมมอง

8. ที่ช่อง Brightness กำหนดความสว่าง

9. กำหนดเสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม





NOTE การกำหนดมุมมอง นอกจากจะให้เมาส์เลื่อนเองแล้ว ยังสามารถใช้คำสั่ง View ได้อีกด้วย






Navigate ใช้เลื่อนรูปภาพ

Zoom In ขยายรูปภาพหรือใช้ลูกกลิ้งตรงกลางเมาส์ก็ได้

Zoom Out ย่อรูปภาพหรือใช้ลูกกลิ้งตรงกลางเมาส์ก็ได้


Top View แสดงรูปภาพ 3 มิติด้านบน

Front View แสดงรูปภาพ 3 มิติด้านหน้า

Back View แสดงรูปภาพ 3 มิติด้านหลัง


Left View แสดงรูปภาพ 3 มิติด้านซ้าย

Right View แสดงรูปภาพ 3 มิติด้านขวา

Auto Spin แสดงรูปภาพ 3 มิติแบบอัตโนมัติ

บทที่ 7 การพิมพ์ลายทองแดง

บทที่ 7 การพิมพ์ลายทองแดง

การพิมพ์งานนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพื่อใช้ในการดูลายวงจรพิมพ์ ที่เราออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วว่าเป็นอย่างไรบ้าง และในโปรแกรมนั้น ยังสามารถพิมพ์เฉพาะส่วนที่เราต้องการได้หรือจะรวมสิ่งที่ต้องการไว้ในหน้า เดียวกันก็ได้


7.1 การกำหนดก่อนพิมพ์งาน
เมื่อสร้างลายทองแดงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าต้องการพิมพ์งานสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. คลิกที่เมนู Output > Printer Setup



2. ในกรอบ Printer คลิกที่ช่อง Name เพื่อเลือกเครื่องปริ้นเตอร์ที่ต้องการพิมพ์ลายทองแดง

3. ในกรอบ Paper คลิกที่ช่อง Size เพื่อเลือกขนาดกระดาษที่ต้องการใช้กับเครื่อง ปริ้นเตอร์

4. ในกรอบ Orientation คลิกเลือกรูปแบบกระดาษ Portrait แบบแนวตั้ง Landscape แบแนวนอน

5. เมื่อตั้งค่าต่าง ๆ ได้แล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม


6. คลิกที่ปุ่ม เพื่อกำหนดรายละเอียดก่อนพิมพ์ลายทองแดง


7. คลิกที่ช่อง Don’t display this message again

8. คลิกที่ปุ่ม


9. ที่กรอบ Printer บอกชื่อเครื่องปริ้นเตอร์ ที่เราใช้งานอยู่ในขณะนี้ ถ้าต้องการเปลี่ยนเครื่องปริ้นเตอร์ให้คลิกที่ปุ่ม Printer

10. ที่กรอบ Options ในช่อง Invert Colours คือ การกลับสีของลายทองแดง ให้ตรงข้ามกับสีที่ใช้ปัจจุบัน

11. ที่ช่อง Mode ใช้เลือกเลเยอร์ต่าง ๆ ในการพิมพ์งาน

12. ในกรอบ Layers/Artworks คลิกเพื่อเลือกเฉพาะเลเยอร์ที่ต้องการใช้

13. ในกรอบ Scale เลือกขนาดลายทองแดง

14. ในกรอบ Rotation เลือกรูปแบบลายทองแดง Vertical แนวตั้ง หรือ Horizontal แนวนอน

15. ในกรอบ Reflection เลือกกลับด้านลายทองแดง Normal แบบปกติ Mirror แบบกลับด้าน

16. คลิกเมาส์ที่รูปลายทองแดงค้างไว้ จะสามารถเลื่อนรูปภาพได้

17. ดับเบิ้ลคลิกที่รูปลายทองแดง เพื่อเข้าไปกำหนดตำแหน่งรูปภาพได้


18. คลิกที่ปุ่ม เพื่อเลือกตำแหน่งตามต้องการ

19. คลิกที่ช่อง Metric Units เพื่อเปลี่ยนหน่วย

20. เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม




21. จากนั้นคลิกที่ปุ่ม เพื่อสั่งให้พิมพ์งานออกทางเครื่องปริ้นเตอร์ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย



7.2 การไฟล์รูปภาพ

ในโปรแกรม ARES นั้น มีความสามารถพิเศษ ในการแปลงไฟล์ PCB ให้เป็นไฟล์รูปภาพที่มีนามสกุล BMP ได้อีกด้วย ซึ่งมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

1. คลิกที่เมนู Output > Export Bitmap



2. ที่ช่อง Mode ใช้เลือกเลเยอร์ต่าง ๆ ในการพิมพ์งาน

3. ในกรอบ Layers คลิกเพื่อเลือกเฉพาะเลเยอร์ที่ต้องการใช้

4. ในกรอบ Resolution เลือกความละเอียดของรูปภาพ

5. ในกรอบ Colours เลือกรูปแบบสีตามต้องการ

6. ในกรอบ Rotation เลือกรูปแบบลายทองแดง Vertical แนวตั้ง หรือ Horizontal แนวนอน

7. ในกรอบ Reflection เลือกกลับด้านลายทองแดง Normal แบบปกติ Mirror แบบกลับด้าน

8. คลิกที่ช่อง



9. เลือกตำแหน่งเก็บไฟล์รูปในช่อง Look in ตามต้องการ ในที่นี้เลือกเก็บไว้ที่ My Documents



10. ตั้งชื่อรูปในช่อง File name ตามต้องการ

11. คลิกที่ปุ่ม



12. เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม



13. จากนั้นให้เข้าไปที่ My Documents แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ led1



14. ก็จะได้ไฟล์รูปมาตามต้องการ





7.3 การทำไฟล์ EPS

Eps เป็นไฟล์เวกเตอร์ประเภทหนึ่งที่ convert มาเพื่อรองรับการใช้โปรแกรมที่หลากหลาย เช่น Illustrator, Word, Excel เป็นต้น โปรแกรมที่สร้างนั้น ก็มีหลายตัวเช่นกัน ประเภท Illustrator Photoshop 3d หรือจะเป็น AutoCad ก็สามารถใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกสร้างจากฟอร์แมตของ Page Maker

1. คลิกที่เมนู Output > Export ESP File



2. ที่ช่อง Mode ใช้เลือกเลเยอร์ต่าง ๆ ในการพิมพ์งาน

3. ในกรอบ Layers คลิกเลือกเฉพาะเลเยอร์ที่ต้องการใช้

4. ในกรอบ Scale เลือกรูปภาพ

5. ในกรอบ Rotation เลือกรูปแบบลายทองแดง Vertical แนวตั้ง หรือ Horizontal แนวนอน

6. ในกรอบ Reflection เลือกกลับด้านลายทองแดง Normal แบบปกติ Mirror แบบกลับด้าน

7. คลิกที่ช่อง



8. เลือกตำแหน่งเก็บไฟล์รูปในช่อง Look in ตามต้องการ ในที่นี้เลือกเก็บไว้ที่ Local Disk C:



9. ตั้งชื่อรูปในช่อง File name ตามต้องการ

10. คลิกที่ปุ่ม



11. เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม



12. จากนั้นให้เข้าไปที่ Local Disk C: ก็จะเห็นไฟล์ EPS ที่เราได้สร้างไว้





7.4 การแปลงไฟล์ PDF

การแปลงไฟล์ PDF จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader ที่เป็นตัวเต็มในการแปลงไฟล์ เมื่อทำการลงโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว เราสามารถแปลงเป็นไฟล์ Adobe Acrobat Reader ที่มีนามสกุล .PDF ได้ง่าย ๆ ดังขั้นตอนต่อไปนี้

1. คลิกที่เมนู Output > Print



2. คลิกที่ปุ่ม เพื่อเปลี่ยนเครื่องปริ้นเตอร์



3. คลิกที่ช่อง Name เลือก Adobe PDF เพื่อใช้โปรแกรม Adobe เป็นตัวปริ้นให้เป็นไฟล์ PDF แทน

4. คลิกที่ปุ่ม



5. กำหนดค่าต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม



6. เลือกตำแหน่งเก็บไฟล์รูปในช่อง Look in ตามต้องการ ในที่นี้เลือกเก็บไว้ที่ My Documents



7. ตั้งชื่อรูปในช่อง File name ตามต้องการ

8. คลิกที่ปุ่ม



9. รอสักครู่ก็จะปรากฏไฟล์ PDF ขึ้นมาอัตโนมัติ





7.5 เลเยอร์ต่าง ๆ

ในหัวข้อนี้ เรามาทำความรู้จักกับเลเยอร์ต่าง ๆ ที่ใช้ในไฟล์ PCB กันดีกว่า เพื่อจะได้เลือกใช้ได้ถูกต้อง ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเลเยอร์ที่สำคัญ ๆ เท่านั้น


Top Copper คือ ลายทองแดงด้านบนแผ่น PCB (สีปกติเป็นสีแดง)

Bottom Copper คือ ลายทองแดงด้านล่างบนแผ่น PCB (สีปกติเป็นสีน้ำเงิน)

Top Silk คือ รูปอุปกรณ์, ค่าอุปกรณ์ หรืออักษรคำต่าง ๆ ที่จะสกรีนลงบนแผ่น PCB ด้านบน เพื่อใช้ทราบถึงตำแหน่งการลงอุปกรณ์แต่ละตัวได้ถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่มักสกรีนสีขาว (สีปกติเป็นสีฟ้า)

Bottom Silk คือ รูปอุปกรณ์, ค่าอุปกรณ์ หรืออักษรคำต่าง ๆ ที่จะสกรีนลงบนแผ่น PCB ด้านล่าง เพื่อใช้ทราบถึงตำแหน่งการลงอุปกรณ์แต่ละตัวได้ถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่มักสกรีนสีขาว (สีปกติเป็นสีชมพูอ่อน)

Top Resist ใช้เปิดจุดบัดกรีด้านบน กล่าวคือ ถ้ามีการสกรีนแผ่น PCB เป็นสีต่าง ๆ ด้านบนแล้ว มีการเดินลายทองแดงด้านบนด้วย เลเยอร์นี้จะทำการเปิดเฉพาะจุดบัดกรี ไม่ให้ถูกสีสกรีนทับ จึงทำให้สามารถบัดกรีขาอุปกรณ์ได้ (สีปกติเป็นสีเขียวอ่อน)

Bottom Resist ใช้เปิดจุดบัดกรีด้านล่าง กล่าวคือ ถ้ามีการสกรีนแผ่น PCB เป็นสี ต่าง ๆ ด้านล่าง เลเยอร์นี้จะทำการเปิดเฉพาะจุดบัดกรี ไม่ให้ถูกสีสกรีนทับ จึงทำให้สามารถบัดกรีขาอุปกรณ์ได้ (สีปกติเป็นสีเขียวอ่อน)

Board Edge คือ เลเยอร์ที่ใช้สร้างขอบเขตหรือขนาดแผ่น PCB (สีปกติเป็นสีเหลือง)

Drill Hole แสดงถึงรูเจาะบนแผ่น PCB เช่น รูเจาะขาอุปกรณ์ แต่ละตัวที่อยู่บนแผ่น PCB หรือรูเจาะที่สร้างขึ้นเอง เพื่อใช้ยึดกับกล่องหรือแผ่นไม้ (สีปกติเป็นสีเทา)

ALL คือ เลเยอร์ที่แสดงถึงพื้นที่บัดกรีของขาอุปกรณ์แต่ละตัว