บทที่ 2 วิธีใช้งานและเทคนิคเบื้องต้นการสร้างวงจรไฟฟ้า
หลังจากที่เราลงโปรแกรมจากบทที่ 1 เสร็จเรียบร้อย ในบทที่ 2
นี้เราจะมาเรียนรู้การใช้งานของเครื่องมือและคำสั่งต่าง ๆ
เพื่อช่วยให้เราสามารถออกแบบวงจรไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น ในบทต่อไป
2.1 ส่วนประกอบของโปรแกรม ISIS
การออกแบบวงจรไฟฟ้าและจำลองการทำงาน ต้องออกแบบภายในโปรแกรม ISIS นี้เท่านั้น ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วย เครื่องมือช่วยเหลือและพื้นที่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ออกแบบวงจรไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น ส่วนประกอบที่สำคัญของโปรแกรม ISIS จะแสดงดังรูป
แถบหัวเรื่อง (Title) คือ ส่วนที่บ่งบอกถึงชื่อโปรแกรมที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
แถบเครื่องมือ (Toolbar) แสดงเป็นปุ่มเครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ๆ โดยด้านบนจะเป็นเครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการไฟล์และมุมมองของโปรแกรม ส่วนด้านซ้ายเป็นเครื่องมือการสร้างวงจรบนพื้นที่ทำงาน
แถบเมนู (Menus) เป็นส่วนที่รวมคำสั่งที่ใช้ทั้งหมดของโปรแกรมไว้ในเมนูต่าง ๆ
หน้าต่างแสดงอุปกรณ์ที่เลือก/แสดงพื้นที่ใช้งาน (Overview window) ใช้แสดงรูปร่างอุปกรณ์ที่เลือกใช้งาน และใช้เลื่อนพื้นที่ทำงานได้อีกด้วย
โหมดเลือกอุปกรณ์ (Component Mode) ใช้เลือกอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ได้ภายในโหมดนี้
หน้าต่างแสดงรายการอุปกรณ์ในโหมดที่เลือก (Object Selector) แสดงชื่อรายการอุปกรณ์ที่เลือกไว้ในโหมดเลือกอุปกรณ์ (Component Mode) เพื่อจะนำมาสร้างวงจรในพื้นที่ทำงาน
พื้นที่ทำงาน (Editing Window) เป็นพื้นที่ออกแบบวงจรไฟฟ้า
ชุดควบคุมการจำลอง (Simulation Controls) เป็นแถบของปุ่มควบคุม การจำลองการทำงานของวงจร
เครื่องมือปรับทิศทางอุปกรณ์ ใช้ปรับทิศทางการหมุนหรือเปลี่ยนแถบอุปกรณ์
2.2 เครื่องมือใช้งานในไฟล์ Schematic
เมื่อเปิดไฟล์ Schematic ขึ้นมาแล้ว จะเห็นแถบเครื่องมืออยู่มากมาย ซึ่งเรามาดูกันดีกว่าว่า แต่ละคำสั่งมีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง
File And Printing Commands
New file คือ ปุ่มที่ใช้สำหรับสร้างไฟล์ Schematic ใหม่
Open Design ใช้สำหรับเปิดไฟล์ Schematic ที่สร้างไว้แล้ว
Save Design ใช้สำหรับบันทึกไฟล์ Schematic ที่กำลังออกแบบอยู่ ณ ปัจจุบัน
Import Section ใช้เปิดไฟล์เอกสารที่มีนามสกุล .SEC
Export Section ใช้บันทึกไฟล์เอกสารให้เป็นนามสกุล .SEC
Print Design เป็นคำสั่งพิมพ์งานออกทางเครื่องปริ๊นเตอร์
Display commands
Toggle Grid ใช้สำหรับเปิด-ปิด กริดบนพื้นที่ทำงาน
Center At Cursor เป็นคำสั่งให้เมาส์ชี้อยู่ในตำแหน่งตรงกลางหน้าจอ
Zoom In ใช้ขยายพื้นที่ทำงานให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทุกครั้งที่คลิกเลือกคำสั่งนี้
Zoom Out ใช้ย่อพื้นที่ทำงานให้มีขนาดเล็กขึ้นทุกครั้งที่คลิกเลือกคำสั่งนี้
Zoom To View Entire Sheet เมื่อใช้คำสั่งนี้พื้นที่ทำงานจะอยู่เต็มกรอบสีน้ำเงินทุกครั้ง
Zoom To Area คำสั่งนี้เมื่อลากเมาส์คลุมส่วนที่ต้องการ จะทำให้ส่วนนั้นขยายเต็มหน้าจอ
Design Tools
Undo Changes เป็นคำสั่งย้อนกลับไปยังการกระทำที่ผ่านมา
Redo Changes เป็นคำสั่งให้กลับไปยังการกระทำเดิม เมื่อใช้คำสั่ง Undo ไปแล้ว
Cut To Clipboard ใช้ลบอุปกรณ์ เมื่อตัวอุปกรณ์กลายเป็นสีแดงจะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา
Coppy To Clipboard ใช้คัดลอกอุปกรณ์ โดยคลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ที่ต้องการให้ กลายเป็นสีแดง โดยคำสั่งนี้จะต้องใช้ควบคู่กับคำสั่ง Paste From Clipboard
Paste From Clipboard เป็นคำสั่งวางอุปกรณ์ที่ถูกคัดลอกด้วยคำสั่ง Copy To Clipboard
Block Copy เป็นคำสั่งวางอุปกรณ์ เมื่อคลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา
Block Move เป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ที่คลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา
Block Rotate เป็นคำสั่งหมุนอุปกรณ์ ที่คลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา โดยใช้ค่ามุมที่ต้องการหมุนได้ตามต้องการ
Block Delete เป็นคำสั่งหมุนอุปกรณ์ ที่คลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา โดยใช้ค่ามุมที่ต้องการหมุนได้ตามต้องการ
Pick parts from libraries ให้เรียกหน้า Pick Device ขึ้นมา ซึ่งเป็นหน้าที่ใช้เลือกไลบรารีและอุปกรณ์ต่าง ๆ
Make Device เป็นคำสั่งเรียกหน้าต่าง Make Device ของอุปกรณ์ ที่คลิกให้กลายเป็นสีแดงขึ้นมา
Packaging Tool เป็นคำสั่งเรียกหน้าต่าง Package Device ของอุปกรณ์ที่คลิกให้กลายเป็นสีแดงขึ้นมา
Decompose เป็นคำสั่งเรียกคุณสมบัติของอุปกรณ์ ที่คลิกให้กลายเป็นสีแดงขึ้นมา
Main Mode Icons
Selection Mode เป็นคำสั่งเลือกไปใช้เมาส์
Component Mode ใช้เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
Junction Dot Mode เป็นจุดเชื่อมต่อสายสัญญาณสองเส้นให้ต่อถึงกัน
Wire Label Mode ใช้กำหนดชื่อให้กับสายสัญญาณภายในวงจร
Script Mode ใช้เขียนข้อความลงตามต้องการ โดยต้องคลิกที่พื้นที่ว่าง แล้วหน้าต่าง EditScript จะปรากฎขึ้นมา
Buses Mode เป็นคำสั่งเดินสายสัญญาณบัส
Sub-Cercuit Mode ใช้เลือกอุปกรณ์ที่เป็นจุดต่อร่วมภายในวงจร
Gadget Icons
Terminal Mode เป็นจุดต่อขาอุปกรณ์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่ต้องเดินสายสัญญาณเชื่อมให้ถึงกัน
Device Pin Mode เป็นคำสั่งเลือกขาอุปกรณ์
Graph Mode เป็นคำสั่งเลือกกราฟชนิดต่าง ๆ
Generator Mode เป็นคำสั่งเลือกแหล่งจ่ายไฟชนิดต่าง ๆ
Voltage Probe Mode เป็นจุดวัดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร
Current Probe Mode เป็นจุดวัดกระแสไฟฟ้าภายในวงจร
Multi Meter Mode เป็นคำสั่งเลือกเครื่องมือวัดชนิดต่าง ๆ
2D Graphics
Line Mode ใช้สร้างเส้นตรง หรือใช้เป็นสัญญาณก็ได้
Box Mode ใช้สร้างกรอบสี่เหลี่ยม
Circle Mode ใช้สร้างวงกลม
Arc Mode ใช้สร้างเส้นโค้ง
2D Path Mode ใช้สร้างเส้นตรงแบบต่อเนื่อง แต่ถ้ากดปุ่มคีย์ ค้างไว้ ก็จะเปลี่ยนเป็น
เส้นโค้ง
Text Mode ใช้ผิดข้อความต่าง ๆ ลงบนพื้นที่ทำงาน
Symbol Mode เป็นคำสั่งเลือกสัญลักษณ์ Rotor ชนิดต่าง ๆ
Marker Mode เป็นคำสั่งเลือกจุดชนิดต่าง ๆ
Design Tools
Wire Auto router ใช้เดินสายสัญญาณแบบกึ่งอัตโนมัติ
Design Explorer คำสั่งเรียกดูค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์ภายในพื้นที่ทำงาน
New Sheet ใช้สร้างไฟล์ Schematic ใหม่
Bill of Material ใช้แสดงเอกสารเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ภายในพื้นที่ทำงาน
Electrical Rules Check เป็นคำสั่งตรวจเช็คทางไฟฟ้า
Net list to Ares เป็นคำสั่งให้วงจรไฟฟ้า นำเข้าไปยังโปรแกรม Ares เพื่อออกแบบลายวงจรพิมพ์
Rotate And mirror Icons
Rotate Clockwise ใช้หมุนอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องรูปอุปกรณ์แบบตามเข็มนาฬิกา
Rotate Anti-clockwise ใช้หมุนอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องรูปอุปกรณ์แบบทวนเข็มนาฬิกา
Flip X axis ใช้สลับตำแหน่งขาอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องอุปกรณ์ ในแกน X
Flip Y axis ใช้สลับตำแหน่งขาอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องรูปอุปกรณ์ ในแกน Y
2.3 การเลือก – หาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หลังจากที่เราเปิดไฟล์ Schematic มาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะมาเรียนรู้การเลือก-หาอุปกรณ์ที่ต้องใช้ออกแบบวงจรไฟฟ้า กัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
2.4 การย่อ-ขยายพื้นที่ทำงาน
เพื่อความสะดวกในการมองวงจร เราสามารถย่อ-ขยายพื้นที่ทำงานได้ง่าย ๆ โดยเลื่อนลูกกลิ้งที่อยู่ตรงกลางเมาส์ พื้นที่ทำงานก็จะย่อ-ขยายได้ตามต้องการ แต่ในกรณีที่เมาส์ของท่านไม่มีลูกกลิ้งตรงกลาง ก็สามารถใช้เครื่องมือ Zoom In Zoom Out ในการย่อ-ขยายพื้นที่ทำงานได้
2.5 การวงและการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์
หลังจากที่เราเลือกอุปกรณ์ที่ต้องใช้แล้ว ขั้นตอนต่อไปเราต้องทำการวางอุปกรณ์ลงบนพื้นที่ทำงานก่อนจึงจะสามารถออก แบบวงจรไฟฟ้าได้ ซึ่งขั้นตอนมีง่าย ๆ ดังนี้
2.6 การหมุนอุปกรณ์
เมื่อเราวางอุปกรณ์ลงไปแล้ว ถ้าเราต้องการหมุนอุปกรณ์ ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
2.7 การเปลี่ยนแกนอุปกรณ์
ถ้าเราต้องการสลับแกนอุปกรณ์ก็สามารถทำได้โดย ขั้นตอนต่อไปนี้
2.8 การลบอุปกรณ์
ถ้าเราต้องการลบอุปกรณ์ออกจากพื้นที่ทำงาน สามารถทำได้ง่ายดังนี้
2.9 การกำหนดค่าให้อุปกรณ์
หลังจากที่ได้อุปกรณ์ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การกำหนดค่าหรือชื่อให้กับอุปกรณ์ซึ่งสำคัญมากสำหรับการนำไปทำลายวงจรพิมพ์ เพราะจะทำให้เราสามารถลงค่าอุปกรณ์ได้ถูกต้อง เมื่อออกแบบวงจรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการกำหนดค่านั้นสามารถทำได้ดังนี้
2.10 การคัดลอกอุปกรณ์
เมื่อกำหนดค่าอุปกรณ์เสร็จแล้ว ถ้าภายในวงจรที่เราออกแบบใช้อุปกรณ์แบบเดียวกัน เราก็สามารถจะคัดลอกอุปกรณ์ตัวเดิมได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2.11 การเชื่อมสายสัญญาณ
เมื่อเราได้อุปกรณ์ที่ต้องการออกแบบวงจรไฟฟ้าครบหมดทุกตัวแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องเชื่อมสายสัญญาณให้กับขาอุปกรณ์ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
2.12 การเชื่อมสายสัญญาณบัส
สายสัญญาณบัส คือ สายที่รวมสัญญาณไว้หลาย ๆ เส้นไว้เพียงเส้นเดียว แล้วแยกออกไปสู่ขาอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามต้องการได้ ซึ่งสายสัญญาณชนิดนี้ มักนิยมใช้กับวงจรจำพวกดิจิตอล เพราะเมื่อเดินสายแล้ว จะเกิดความสวยงามและเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งเราสามารถใช้สายสัญญาณบัสได้ดังนี้
2.13 การตรวจสอบความผิดพลาดในวงจร
ในกรณีที่วงจรมีขนาดใหญ่ใช้อุปกรณ์หลายตัว อาจทำให้ตรวจสอบวงจรจากสายตาได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งเราอาจใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบวงจรให้ได้ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.1 ส่วนประกอบของโปรแกรม ISIS
การออกแบบวงจรไฟฟ้าและจำลองการทำงาน ต้องออกแบบภายในโปรแกรม ISIS นี้เท่านั้น ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วย เครื่องมือช่วยเหลือและพื้นที่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ออกแบบวงจรไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น ส่วนประกอบที่สำคัญของโปรแกรม ISIS จะแสดงดังรูป
แถบหัวเรื่อง (Title) คือ ส่วนที่บ่งบอกถึงชื่อโปรแกรมที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
แถบเครื่องมือ (Toolbar) แสดงเป็นปุ่มเครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ๆ โดยด้านบนจะเป็นเครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการไฟล์และมุมมองของโปรแกรม ส่วนด้านซ้ายเป็นเครื่องมือการสร้างวงจรบนพื้นที่ทำงาน
แถบเมนู (Menus) เป็นส่วนที่รวมคำสั่งที่ใช้ทั้งหมดของโปรแกรมไว้ในเมนูต่าง ๆ
หน้าต่างแสดงอุปกรณ์ที่เลือก/แสดงพื้นที่ใช้งาน (Overview window) ใช้แสดงรูปร่างอุปกรณ์ที่เลือกใช้งาน และใช้เลื่อนพื้นที่ทำงานได้อีกด้วย
โหมดเลือกอุปกรณ์ (Component Mode) ใช้เลือกอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ได้ภายในโหมดนี้
หน้าต่างแสดงรายการอุปกรณ์ในโหมดที่เลือก (Object Selector) แสดงชื่อรายการอุปกรณ์ที่เลือกไว้ในโหมดเลือกอุปกรณ์ (Component Mode) เพื่อจะนำมาสร้างวงจรในพื้นที่ทำงาน
พื้นที่ทำงาน (Editing Window) เป็นพื้นที่ออกแบบวงจรไฟฟ้า
ชุดควบคุมการจำลอง (Simulation Controls) เป็นแถบของปุ่มควบคุม การจำลองการทำงานของวงจร
เครื่องมือปรับทิศทางอุปกรณ์ ใช้ปรับทิศทางการหมุนหรือเปลี่ยนแถบอุปกรณ์
2.2 เครื่องมือใช้งานในไฟล์ Schematic
เมื่อเปิดไฟล์ Schematic ขึ้นมาแล้ว จะเห็นแถบเครื่องมืออยู่มากมาย ซึ่งเรามาดูกันดีกว่าว่า แต่ละคำสั่งมีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง
New file คือ ปุ่มที่ใช้สำหรับสร้างไฟล์ Schematic ใหม่
Open Design ใช้สำหรับเปิดไฟล์ Schematic ที่สร้างไว้แล้ว
Save Design ใช้สำหรับบันทึกไฟล์ Schematic ที่กำลังออกแบบอยู่ ณ ปัจจุบัน
Import Section ใช้เปิดไฟล์เอกสารที่มีนามสกุล .SEC
Export Section ใช้บันทึกไฟล์เอกสารให้เป็นนามสกุล .SEC
Print Design เป็นคำสั่งพิมพ์งานออกทางเครื่องปริ๊นเตอร์
Toggle Grid ใช้สำหรับเปิด-ปิด กริดบนพื้นที่ทำงาน
Center At Cursor เป็นคำสั่งให้เมาส์ชี้อยู่ในตำแหน่งตรงกลางหน้าจอ
Zoom In ใช้ขยายพื้นที่ทำงานให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทุกครั้งที่คลิกเลือกคำสั่งนี้
Zoom Out ใช้ย่อพื้นที่ทำงานให้มีขนาดเล็กขึ้นทุกครั้งที่คลิกเลือกคำสั่งนี้
Zoom To View Entire Sheet เมื่อใช้คำสั่งนี้พื้นที่ทำงานจะอยู่เต็มกรอบสีน้ำเงินทุกครั้ง
Zoom To Area คำสั่งนี้เมื่อลากเมาส์คลุมส่วนที่ต้องการ จะทำให้ส่วนนั้นขยายเต็มหน้าจอ
Undo Changes เป็นคำสั่งย้อนกลับไปยังการกระทำที่ผ่านมา
Redo Changes เป็นคำสั่งให้กลับไปยังการกระทำเดิม เมื่อใช้คำสั่ง Undo ไปแล้ว
Cut To Clipboard ใช้ลบอุปกรณ์ เมื่อตัวอุปกรณ์กลายเป็นสีแดงจะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา
Coppy To Clipboard ใช้คัดลอกอุปกรณ์ โดยคลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ที่ต้องการให้ กลายเป็นสีแดง โดยคำสั่งนี้จะต้องใช้ควบคู่กับคำสั่ง Paste From Clipboard
Paste From Clipboard เป็นคำสั่งวางอุปกรณ์ที่ถูกคัดลอกด้วยคำสั่ง Copy To Clipboard
Block Copy เป็นคำสั่งวางอุปกรณ์ เมื่อคลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา
Block Move เป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ที่คลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา
Block Rotate เป็นคำสั่งหมุนอุปกรณ์ ที่คลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา โดยใช้ค่ามุมที่ต้องการหมุนได้ตามต้องการ
Block Delete เป็นคำสั่งหมุนอุปกรณ์ ที่คลิกหรือลากเมาส์คลุมอุปกรณ์ ที่ต้องการให้กลายเป็นสีแดง ก็จะมีคำสั่งนี้ขึ้นมา โดยใช้ค่ามุมที่ต้องการหมุนได้ตามต้องการ
Pick parts from libraries ให้เรียกหน้า Pick Device ขึ้นมา ซึ่งเป็นหน้าที่ใช้เลือกไลบรารีและอุปกรณ์ต่าง ๆ
Make Device เป็นคำสั่งเรียกหน้าต่าง Make Device ของอุปกรณ์ ที่คลิกให้กลายเป็นสีแดงขึ้นมา
Packaging Tool เป็นคำสั่งเรียกหน้าต่าง Package Device ของอุปกรณ์ที่คลิกให้กลายเป็นสีแดงขึ้นมา
Decompose เป็นคำสั่งเรียกคุณสมบัติของอุปกรณ์ ที่คลิกให้กลายเป็นสีแดงขึ้นมา
Component Mode ใช้เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
Junction Dot Mode เป็นจุดเชื่อมต่อสายสัญญาณสองเส้นให้ต่อถึงกัน
Wire Label Mode ใช้กำหนดชื่อให้กับสายสัญญาณภายในวงจร
Script Mode ใช้เขียนข้อความลงตามต้องการ โดยต้องคลิกที่พื้นที่ว่าง แล้วหน้าต่าง EditScript จะปรากฎขึ้นมา
Buses Mode เป็นคำสั่งเดินสายสัญญาณบัส
Sub-Cercuit Mode ใช้เลือกอุปกรณ์ที่เป็นจุดต่อร่วมภายในวงจร
Device Pin Mode เป็นคำสั่งเลือกขาอุปกรณ์
Graph Mode เป็นคำสั่งเลือกกราฟชนิดต่าง ๆ
Generator Mode เป็นคำสั่งเลือกแหล่งจ่ายไฟชนิดต่าง ๆ
Voltage Probe Mode เป็นจุดวัดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร
Current Probe Mode เป็นจุดวัดกระแสไฟฟ้าภายในวงจร
Multi Meter Mode เป็นคำสั่งเลือกเครื่องมือวัดชนิดต่าง ๆ
Line Mode ใช้สร้างเส้นตรง หรือใช้เป็นสัญญาณก็ได้
Box Mode ใช้สร้างกรอบสี่เหลี่ยม
Circle Mode ใช้สร้างวงกลม
Arc Mode ใช้สร้างเส้นโค้ง
2D Path Mode ใช้สร้างเส้นตรงแบบต่อเนื่อง แต่ถ้ากดปุ่มคีย์ ค้างไว้ ก็จะเปลี่ยนเป็น
เส้นโค้ง
Text Mode ใช้ผิดข้อความต่าง ๆ ลงบนพื้นที่ทำงาน
Symbol Mode เป็นคำสั่งเลือกสัญลักษณ์ Rotor ชนิดต่าง ๆ
Marker Mode เป็นคำสั่งเลือกจุดชนิดต่าง ๆ
Wire Auto router ใช้เดินสายสัญญาณแบบกึ่งอัตโนมัติ
Design Explorer คำสั่งเรียกดูค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์ภายในพื้นที่ทำงาน
New Sheet ใช้สร้างไฟล์ Schematic ใหม่
Bill of Material ใช้แสดงเอกสารเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ภายในพื้นที่ทำงาน
Electrical Rules Check เป็นคำสั่งตรวจเช็คทางไฟฟ้า
Net list to Ares เป็นคำสั่งให้วงจรไฟฟ้า นำเข้าไปยังโปรแกรม Ares เพื่อออกแบบลายวงจรพิมพ์
Rotate Clockwise ใช้หมุนอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องรูปอุปกรณ์แบบตามเข็มนาฬิกา
Rotate Anti-clockwise ใช้หมุนอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องรูปอุปกรณ์แบบทวนเข็มนาฬิกา
Flip X axis ใช้สลับตำแหน่งขาอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องอุปกรณ์ ในแกน X
Flip Y axis ใช้สลับตำแหน่งขาอุปกรณ์ที่อยู่ในช่องรูปอุปกรณ์ ในแกน Y
2.3 การเลือก – หาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หลังจากที่เราเปิดไฟล์ Schematic มาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะมาเรียนรู้การเลือก-หาอุปกรณ์ที่ต้องใช้ออกแบบวงจรไฟฟ้า กัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
- คลิกที่ปุ่ม เพื่อค้นหาอุปกรณ์
- คลิกที่ปุ่ม เพื่อเลือกอุปกรณ์จากไลบรารี ก็จะปรากฏหน้าต่าง Pick Device ขึ้นมา
- คลิ๊กเลือกไลบรารีตามต้องการ ในที่นี้เลือกคลิกที่ไลบรารี Transistor
- ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่ออุปกรณ์ที่ต้องการเลือก ในที่นี้เลือก 2N3904 แล้วก็ปิดหน้าต่าง Pick Device
- จะสังเกตเห็นว่า รายการอุปกรณ์ได้เข้ามายังช่องอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งในขั้นตอนที่ 4 เราสามารถเลือกอุปกรณ์ ที่ต้องการใช้ได้กี่ชนิดก็ได้
จะทำให้รายการอุปกรณ์ที่เราเลือกเข้ามาอยู่ในช่องนี้เสมอ
**TIP
ในหน้าต่าง Pick Device เราจะเห็นว่า มีช่อง Keywords อยู่ ซึ่งช่องนี้เอาไว้พิมพ์ชื่ออุปกรณ์หรือเบอร์อุปกรณ์ ที่เราต้องการได้อัตโนมัติ เช่น พิมพ์เบอร์ ทรานซิสเตอร์ 2N3904 โปรแกรมก็แสดงรายการอุปกรณ์ที่มีชื่อขึ้นมา
2.4 การย่อ-ขยายพื้นที่ทำงาน
เพื่อความสะดวกในการมองวงจร เราสามารถย่อ-ขยายพื้นที่ทำงานได้ง่าย ๆ โดยเลื่อนลูกกลิ้งที่อยู่ตรงกลางเมาส์ พื้นที่ทำงานก็จะย่อ-ขยายได้ตามต้องการ แต่ในกรณีที่เมาส์ของท่านไม่มีลูกกลิ้งตรงกลาง ก็สามารถใช้เครื่องมือ Zoom In Zoom Out ในการย่อ-ขยายพื้นที่ทำงานได้
2.5 การวงและการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์
หลังจากที่เราเลือกอุปกรณ์ที่ต้องใช้แล้ว ขั้นตอนต่อไปเราต้องทำการวางอุปกรณ์ลงบนพื้นที่ทำงานก่อนจึงจะสามารถออก แบบวงจรไฟฟ้าได้ ซึ่งขั้นตอนมีง่าย ๆ ดังนี้
- คลิกที่ชื่ออุปกรณ์ที่ต้องการใช้ให้เกิดแถบสีน้ำเงิน
- เลื่อนเมาส์มายังตำแหน่งพื้นที่ว่าง แล้วคลิกเมาส์หนึ่งครั้งจะเห็นว่า
สัญลักษณ์อุปกรณ์จะลอยติดมากับเมาส์ เราสามารถเลื่อนไปมาได้ตามต้องการ
- เมื่อหาตำแหน่งที่ต้องการได้แล้ว ให้คลิกเมาส์อีกครั้งหนึ่ง อุปกรณ์ก็จะถูกวางลงไปบนพื้นที่ทำงาน
- เมื่อวางอุปกรณ์ลงไปแล้ว ถ้าต้องการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปยังตำแหน่งอื่น ให้คลิกเมาส์ซ้ายที่อุปกรณ์จนกลายเป็นสีแดง
- จากนั้นคลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้อีกครั้ง ก็จะทำให้อุปกรณ์ลอยติดมากับเมาส์ นำไปวางในตำแหน่งที่ต้องการได้
**NOTE
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์บนพื้นที่ทำงาน สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่งคือ คลิกขวาที่อุปกรณ์ > Drag Object ก็จะสามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้เช่นกัน
2.6 การหมุนอุปกรณ์
เมื่อเราวางอุปกรณ์ลงไปแล้ว ถ้าเราต้องการหมุนอุปกรณ์ ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- คลิกขวาที่อุปกรณ์ เลือก > Rotate Clockwise เพื่อหมุนอุปกรณ์แบบตามเข็มนาฬิกา ครั้งละ 90 องศา
- อุปกรณ์ก็จะหมุนตามที่เราต้องการ
รูปแบบการหมุนของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ NPN
*NOTE
ก่อนวางอุปกรณ์ลงบนพื้นที่ทำงาน เราสามารถหมุนอุปกรณ์ได้อีกวิธีหนึ่งคือ เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการหมุน แล้วคลิกปุ่มเครื่องมือ หรือ ก็จะทำให้ช่องรูปอุปกรณ์หมุนตามไปด้วย เมื่อเราวางอุปกรณ์ลงไป ก็จะทำให้อุปกรณ์อยู่ในลักษณะที่ถูกหมุนแล้ว
**TIP
การหมุนอุปกรณ์บนพื้นที่ทำงาน เราสามารถใช้คำสั่งคีย์ลัดได้ โดยคลิกที่อุปกรณ์ให้กลายเป็นสีแดง แล้วกดปุ่มคีย์ < + > หรือ < - > อุปกรณ์ก็จะหมุนได้ตามต้องการ
2.7 การเปลี่ยนแกนอุปกรณ์
ถ้าเราต้องการสลับแกนอุปกรณ์ก็สามารถทำได้โดย ขั้นตอนต่อไปนี้
- คลิกขวาที่อุปกรณ์เลือก > X-Mirror หรือ Y-Mirror เพื่อเปลี่ยนแกนอุปกรณ์ ในที่นี้เลือกเปลี่ยนในแกน X
- อุปกรณ์ก็จะเปลี่ยนแกนตามที่เราต้องการ
รูปแบบการเปลี่ยนแกนของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ NPN
**NOTE
ก่อนวางอุปกรณ์ลงบนพื้นที่ทำงาน เราสามารถเปลี่ยนแกนอุปกรณ์ได้อีกวิธีหนึ่งคือ เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการเปลี่ยนแกน แล้วคลิกปุ่มเครื่องมือ หรือ ก็จะทำให้ช่องรูปอุปกรณ์เปลี่ยนแกนตามไปด้วย เมื่อเราวางอุปกรณ์ลงไป ก็จะทำให้อุปกรณ์อยู่ในลักษณะที่ถูกเปลี่ยนแกนแล้ว
**TIP
การเปลี่ยนแกนอุปกรณ์บนพื้นที่ทำงาน เราสามารถใช้คำสั่งคีย์ลัดได้ โดยคลิกที่อุปกรณ์ให้กลายเป็นสีแดง แล้วกดปุ่มคีย์ อุปกรณ์ก็จะเปลี่ยนแกนได้ตามต้องการ ทั้งนี้คำสั่งคีย์ลัดจะใช้ได้กับการสลับแกน X เท่านั้น
2.8 การลบอุปกรณ์
ถ้าเราต้องการลบอุปกรณ์ออกจากพื้นที่ทำงาน สามารถทำได้ง่ายดังนี้
- คลิกขวาที่อุปกรณ์เลือก > Delete Object แล้วอุปกรณ์ก็จะถูกลบออกไป
**NOTE
การลบอุปกรณ์อีกวิธีหนึ่งคือ คลิกขวาติดกันสองครั้ง ก็สามารถลบอุปกรณ์ได้เช่นกัน
2.9 การกำหนดค่าให้อุปกรณ์
หลังจากที่ได้อุปกรณ์ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การกำหนดค่าหรือชื่อให้กับอุปกรณ์ซึ่งสำคัญมากสำหรับการนำไปทำลายวงจรพิมพ์ เพราะจะทำให้เราสามารถลงค่าอุปกรณ์ได้ถูกต้อง เมื่อออกแบบวงจรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการกำหนดค่านั้นสามารถทำได้ดังนี้
- ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ที่ต้องการเข้าไปกำหนดค่า
- กำหนดชื่อหรือลำดับอุปกรณ์ในช่อง Component Reference ตามต้องการ ในที่นี้คือ Q1
- กำหนดค่าหรือเบอร์อุปกรณ์ในช่อง Component Value ตามต้องการ ในที่นี้คือ BC547
- คลิกที่ปุ่ม
- จะเห็นว่าคุณสมบัติของอุปกรณ์จะเปลี่ยนไปตามที่เรากำหนด
**NOTE
ในช่อง Component Reference ต้องระวังอย่าให้ชื่อตั้งซ้ำ หรือเหมือนกันเป็นอันขาด เพราะไม่เช่นนั้น การนำวงจรไปสร้างลายวงจรพิมพ์จะเกิดการผิดพลาดทันที
2.10 การคัดลอกอุปกรณ์
เมื่อกำหนดค่าอุปกรณ์เสร็จแล้ว ถ้าภายในวงจรที่เราออกแบบใช้อุปกรณ์แบบเดียวกัน เราก็สามารถจะคัดลอกอุปกรณ์ตัวเดิมได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- คลิกที่อุปกรณ์ที่ต้องการคัดลอกให้กลายเป็นสีแดง
- คลิกที่ปุ่ม เพื่อใช้คำสั่งคัดลอกอุปกรณ์
- จะเห็นว่ามีอุปกรณ์ลอยติดมากับเมาส์ ให้คลิกวางลงไปในตำแหน่งที่ต้องการ ก็จะได้อุปกรณ์ที่มีค่าเหมือนกันตามต้องการ
2.11 การเชื่อมสายสัญญาณ
เมื่อเราได้อุปกรณ์ที่ต้องการออกแบบวงจรไฟฟ้าครบหมดทุกตัวแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องเชื่อมสายสัญญาณให้กับขาอุปกรณ์ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
- อันดับแรกวางอุปกรณ์ ตัวต้านทาน
และแบตเตอรี่ลงไปบนพื้นที่ทำงานก่อน ซึ่งตัวต้านทานหาได้ที่ไลบรารี
Resistors > MINIRES100K และแบตเตอรีหาได้ที่ไลบรารี Miscellaneous >
BATTERY จากนั้นวางเรียงอุปกรณ์ดังรูป
- นำเมาส์มาชี้ที่ขาอุปกรณ์ ขา C ของ Q1
จะสังเกตเห็นว่าเกิดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีแดงขึ้นมา
ซึ่งหมายความว่าสามารถเชื่อมต่อสายสัญญาณได้
ให้คลิกเมาส์หนึ่งครั้งเพื่อทำการเชื่อมต่อ
- จากนั้นเดินสายสัญญาณมายังขา B ของ Q2 จะเห็นว่า เกิดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
สีแดงขึ้นมาเช่นกัน ให้คลิกเมาส์หนึ่งครั้ง เพื่อทำการเชื่อมต่อ
จึงทำให้การเชื่อมต่อสายสัญญาณขา C ของ Q1 กับขา B ของ Q2 ต่อกันโดยสมบูรณ์
- ทำการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้กับวงจรจนครบทั้งหมด ดังรูป
**NOTE
ในขณะเดินสายสัญญาณถ้ากดปุ่มคีย์ ค้างไว้ จะทำให้เดินสายสัญญาณได้อิสระมากขึ้น
2.12 การเชื่อมสายสัญญาณบัส
สายสัญญาณบัส คือ สายที่รวมสัญญาณไว้หลาย ๆ เส้นไว้เพียงเส้นเดียว แล้วแยกออกไปสู่ขาอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามต้องการได้ ซึ่งสายสัญญาณชนิดนี้ มักนิยมใช้กับวงจรจำพวกดิจิตอล เพราะเมื่อเดินสายแล้ว จะเกิดความสวยงามและเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งเราสามารถใช้สายสัญญาณบัสได้ดังนี้
- วางอุปกรณ์ดังภาพ ซึ่งสามารถหาได้จากไลบรารี Microprocessor IC > 16F627A และไลบรารี Connector > CONN-D9F
- คลิกที่ปุ่ม เพื่อใช้คำสั่งบัส
- เดินสายสัญญาณบัสให้ได้ดังรูป
- คลิกที่ขา 17 ของไอซี แล้วเดินสายสัญญาณมาคลิกที่สายสัญญาณบัส
- จากนั้นเดินสายสัญญาณได้ตามต้องการดังรูป
- คลิกที่ปุ่ม
- คลิกที่สายสัญญาณเพื่อเข้าไปกำหนดชื่อ ก็จะพบหน้าต่าง Edit Wire Label ขึ้นมา
- ในช่อง String ให้ตั้งชื่อสายสัญญาณตามต้องการ ในที่นี้ตั้งชื่อ AB1
- คลิกที่ปุ่ม
- ก็จะเห็นว่าบนสายสัญญาณมีชื่อที่ตั้งไว้ปรากฏขึ้นมา
- ตั้งชื่อให้กับสายสัญญาณอีกเส้นหนึ่งให้มีชื่อเหมือนกัน
ในที่นี้เลือกตั้งที่อุปกรณ์ J1 ขา 1 ก็จะทำให้ขา 17 ของ U1 ต่อเข้ากับ J1
โดยสมบูรณ์
- จากนั้นก็ตั้งชื่อให้กับสายสัญญาณจนครบทุกเส้น โดยถ้าต้องการให้ขาไหนเชื่อมต่อถึงกัน ให้ตั้งชื่อเหมือน ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
2.13 การตรวจสอบความผิดพลาดในวงจร
ในกรณีที่วงจรมีขนาดใหญ่ใช้อุปกรณ์หลายตัว อาจทำให้ตรวจสอบวงจรจากสายตาได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งเราอาจใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบวงจรให้ได้ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตัวอย่างนี้จะใช้ตัวต้านทาน 2 ตัว ที่มีค่าลำดับอุปกรณ์ซ้ำกันคือ R1 ดังรูป
- คลิกที่ปุ่ม เพื่อตรวจสอบความผิดพลาด
- ก็จะปรากฏหน้าต่าง ELECTRICAL RULES CHECK ขึ้นมา ซึ่งภายในจะบอกถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และสิ่งที่เกิดปัญหาในที่นี้คือ R1
- เมื่อทราบถึงปัญหาแล้วคลิกที่ปุ่ม
- จากนั้นแก้ลำดับอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งไม่ให้ซ้ำกัน ในที่นี้เปลี่ยนเป็น R3
- คลิกที่ปุ่ม เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดอีกครั้ง
- ข้อความภายในก็จะบอกว่าไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ก็เป็นอันใช้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น