ความหมายของหุ่นยนต์

หุ่น ยนต์สามารถจำแนกระดับขั้นการทำงานได้ 6 ระดับ ตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JIRA : Japanese Industrial Robot Association) ดังนี้
ระดับที่ 1 กลไกที่ถูกควบคุมด้วยมนุษย์ (manual-handling device)
ระดับที่ 2 หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าที่กำหนดไว้ โดยไม่สามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ (fixed-sequence robot)
ระดับที่ 3 หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าที่กำหนดไว้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ (variable-sequence robot)
ระดับที่ 4 ผู้ควบคุมเป็นผู้สอนงานให้กับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะทำงานเล่นย้อนกลับ ตามที่หน่วยความจำบันทึกไว้ (playback robot)
ระดับ ที่ 5 ผู้ควบคุมบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลขการเคลื่อนที่ให้กับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์สามารถทำงานได้เอง โดยไม่ต้องทำการสอนงาน (numerical control robot)
ระดับที่ 6 หุ่นยนต์มีความฉลาด สามารถเรียนรู้สภาพแวดล้อม และตัดสินใจทำงานได้ด้วยด้วยเอง (intelligent robot)แต่ สถาบันหุ่นยนต์แห่งสหรัฐอเมริกา (RIA : The Robotics Institute of America) พิจารณาเพียงระดับที่ 3-6 เท่านั้นที่ถือว่าเป็นหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ยังสามารถจำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการใช้งาน คือ
หุ่น ยนต์ชนิดติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้ มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะข้อต่อ นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้ สามารถขยับเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อ ขา หรือการขับเคลื่อนในรูปแบบอื่นๆ

หุ่นยนต์ มาจากคำว่า “โรบอท” (robot หรือ robota) ในภาษาเช็ก ซึ่งแปลว่า ทาส หรือผู้ถูกบังคับใช้แรงงาน ในปี ค.ศ.1921 (พ.ศ.2464) คาร์ล ชาเพต (Karel Capek) นักประพันธ์ชาวเช็ก ได้ประพันธ์ละครเวทีเรื่อง อาร์.ยู.อาร์. (R.U.R. : Rossum's Universal Robots) โดยในละครนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษย์ที่ต้องการทาสรับใช้ จึงสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาช่วยทำงาน ซึ่งต่อมาหุ่นยนต์ได้พัฒนาตัวเองให้มีความฉลาดมากขึ้น จึงเกิดความคิดต่อต้านมนุษย์ ไม่ยอมให้กดขี่ข่มเหงอีกต่อไป ละครเรื่องนี้โด่งดังมากจนทำให้คำว่า “โรบอท” เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ต่อมาในปี ค.ศ.1942 (พ.ศ.2485) ไอแซค อสิมอฟ (Isaac Asimov) นักวิทยาศาสตร์และนักประพันธ์ ชาวอเมริกัน เชื้อสายรัสเซีย ได้ประพันธ์นวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์เรื่อง รันอะราวน์ (Runaround) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ และกำหนดกฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ขึ้นในงานประพันธ์ของเขา ประกอบด้วย
หุ่นยนต์ห้ามทำร้ายมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตราย
หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์ ยกเว้นคำสั่งนั้นขัดแย้งกับกฎข้อแรก
หุ่นยนต์ปกป้องตัวเองได้ แต่ต้องไม่ขัดกับกฎข้อแรกหรือกฎข้อที่สอง
หลังจากบทประพันธ์ของอสิมอฟเผยแพร่ออกไป กฎ 3 ข้อนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นกฎที่มีความถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยในการดำรงชีวิตร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ นวนิยาเรื่องนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจหุ่นยนต์มากขึ้น และเริ่มต้นการพัฒนาหุ่นยนต์อย่างจริงจังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น