วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

ระบบ BAS

        ระบบ BAS เป็นการนำเอาการทำงานการสั่งการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดของ อาคาร ให้อยู่ในความควบคุมของคอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวก และจัดการงานระบบโดยมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นระบบเครือข่าย Network แบบLAN (Local Area Network) รูปแบบของการเชื่อมต่อระบบ Network ของระบบ BAS เป็นแบบ Bus มีลักษณะเป็นเส้นตรงและมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เป็นกิ่งก้านออกจากเส้นตรง หลักข้อดีคือสามารถใช้ Software,ข้อมูล,อุปกรณ์ทางด้าน Hard Ware ร่วมกันได้ในส่วนระบบ LAN ของระบบ BAS ประกอบไปด้วย
1. File Serve คือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับทำหน้าที่บริการสิ่งต่างๆให้กับ Work Station เช่น จัดการระบบการใช้ไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรต่างๆร่วมกันของระบบ Network แทนที่จะเก็บไว้ใน Hard Disk ของ Work Station แต่ละเครื่อง
2. Work Station เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ใช้งานเป็นระบบ Network โดยจะต้องติดต่อกับ Server เพื่อขอใช้ไฟล์ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ใน File Server ออกมาใช้งานและหากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก็สามารถแก้ไขได้จาก Work Station และข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะถูกเก็บไว้ใน File Server อีกครั้งหนึ่ง
Processor
เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับระบบ LAN เป็นตัวประมวลผลค่าต่างๆที่ส่งมาจาก Work Station เพื่อทำการประมวลผลแล้วจึงส่งค่าที่ได้จากการประมวลผลให้กับตัว Controller อีกครั้งหนึ่งซึ่งตัว Controller ก็จะส่งค่าไปยัง Point ให้ทำงานตามที่ Processor ประมวลผลมาหรือรับค่ามาจากตัว Controller เพื่อทำการประมวลผลแล้วส่งค่าให้กับ Work Station หรือส่งค่าให้กับตัว Controller ทำงานตามคำสั่งที่ผู้ใช้งานเป็นคนเขียน Program ลงไป Processor มีอยู่ด้วยกัน 2ชนิด คือ
1. Alarm Schedule Processor (ASP-II) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเก็บ Alarm ในระบบของ BAS การทำงานของ ASP-II จะทำงานโดยอิสระขณะนี้ได้มีการ UP DATE อยู่ในรูปของ Software
2. Contek DPC Processor (CDP-II ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของตัว Controller การต่อ Network จากตัว CDP-II ไปยังตัว Controller สามารถต่อได้ 4 บัส ซึ่งแต่ละบัสต่อController ได้มากสุด 31 ตัว ดังนั้นใน CDP-II แต่ละตัวสามารถต่อกับตัว Controller ได้ทั้งหมด 124 ตัว โดยในการต่อแต่ละบัสจะใช้การติดต่อแบบ RS-485 การต่อจะเป็นแบบ Multi Drop
Controller จะใช้อยู่ 2 ชนิด
  1. CEC(Contek Extended Controller) เป็นตัวรับคำสั่งมาจากตัว CDP-II ซึ่งจะทำงานตาม Process ของ CDP-II และยังเป็นตัวส่งข้อมูลจาก Point ต่างๆไปยัง CDP-II เพื่อให้ทาง CDP-II ทำการประมวลผลต่อไป โดยที่ตัว CEC นี้จะมี Point อยู่ในตัวมัน 16 Point ซึ่งสามารถแบ่ง ชนิดของ Point ต่างๆได้ดังนี้ 1.ขนาด 8 บิต DI/DO/AI
  1. 2.ขนาด 4 บิต DI/DO/AO
    3.ขนาด 4 บิต DI/DO
    ซึ่ง CEC นี้จะสามารถเพิ่ม Point ได้โดยการติดตั้งตัว CDU(Contek Digital Unit) หรือตัว CQU (Contek Quad Unit) โดยที่ CDU และ CQU แต่ละตัวจะมี Point ดังนี้
    CDU 8 บิต DI/DO
    CQU 4 บิต DI/DO/AO
    และจำนวน Maximum มากที่สุดของ CDU และ CQU ที่สามารถต่อได้ในหนึ่ง CEC คือ
    Maximum CDU คือ 6
    Maximum CQU คือ 4
  2. VAV(Variable Air Volume) ขณะนี้ไม่ได้ใช้งานเป็นตัว Controller ที่ใช้สำหรับควบคุมปริมาณลมที่จ่ายให้กับ Office โดยจะมี Damper เป็นตัวควบคุมปริมาณลมจะเปิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภมิที่วัดได้จาก พื้นที่นั้นโดยทาง BAS สามารถที่จะควบคุมอุณหภูมิได้และกำหนดการตั้งเวลาสำหรับเปิดและปิดได้
Point
Point คือ จุดๆหนึ่งที่ใช้สำหรับต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆเพื่อรับ Status,Control,Alarm อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งชนิดของ Point สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
  1. DI คือ Digital Input จะเป็นตัวรับค่า 0 หรือ 1 เท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะใช้กับ Point ที่ต้องการทราบ Status การทำงาน หรือเป็นค่า Alarm
  2. DO คือ Digital Output จะเป็นตัวส่งค่า 0 หรือ 1 เท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะใช้เมื่อต้องการจะใช้ Point นี้ Control อุปกรณ์เช่น เป็นตัว On/Off AHU เป็นต้น
  3. AI คือ Analogne Input โดยจะเป็นการรับค่าสัญญาณไฟฟ้าจากอุปกรณ์ที่ต้องการทราบค่าเช่น อุณหภูมิ เป็นต้น
  4. AO คือ Analogne Output โดยจะเป็นตัวสับสัญญาณไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์โดยจะส่งค่าสัญญาณ 4-20 mA หรือ 0-10 VDC
Software ของระบบ Building Automation System (BAS)
Software ของระบบ BAS จะประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วน
  1. Command Statio เป็น Software ที่เป็น Main หลักที่ใช้ ในการ RUN Program ในส่วนต่างๆหลายส่วนดังนี้คือ
    1. Contek เป็น Software ที่ใช้สำหรับการสร้าง Database ในระบบเช่น จำนวน ProcessorและController ในระบบ,Address ของ ProcessorและController,ชนิดของ Point ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบ BAS และใช้ดูสถานะการทำงานของตัว Processor,Controller และ Pointต่างๆซึ่งสามารถตรวจสอบหรือสั่งการเปิด-ปิดในเรื่องของAIR&VENT ตามกำหนดการ สามารถตั้งSchedule หรือสั่งการเปิด-ปิดในขณะนั้นได้
    2. Event เป็น Software ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับ Alarm ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ โดยจะมีการเก็บบันทึก Alarm ต่างๆ ที่เกิดขึ้นลงใน File และลักษณะการเก็บบันทึก Event จะมีการเก็บบันทึก,วัน,เดือน,ปี ,เวลา,ลักษณะ Alarm ที่เกิด ตำแหน่งอุปกรณ์ที่เกิด Alarm โดยจะมีลักษณะการเก็บเรียงตามวันเวลาที่เกิด Alarm ขึ้น
    3. Trendlog เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบันทึกค่าต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบ เพื่อจะเก็บสถิติในลักษณะของ Graphโดยที่สามารถเช็คค่าต่างๆ ย้อนหลังในลักษณะ Graph ของการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆที่มาเชื่อมต่อกับระบบ BAS เช่น การเก็บค่าอุณภูมิในห้องต่างๆ การเก็บค่าปริมาณน้ำใช้ น้ำดับเพลิง การเก็บบันทึกเกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคาร
    4. Mimic จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับระบบ BAS ในลักษณะของ Graphics เช่นแสดงสภาวะการทำงานของ ระบบElectical, Mechanical, Sanitary, Gas alarm, Fire alarm, Temperature, Pump station, Lift, Escalator, Carpark,หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามชั้นต่างๆและยังสามารถที่จะ Control เปิด-ปิดอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบ BAS ผ่านทาง Mimic ได้ด้วย
    5. System Administration เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างและกำหนดสิทธิของ User ที่จะเข้ามาใช้ในระบบว่าสามารถจะเข้าไปใช้ Menu ในส่วนใดได้บ้างและ User คนนั้นอยู่ในระดับไหนซึ่งการกำหนดระดับความสำคัญของ User สามารถกำหนดได้ 5 ระดับ
    6. Sentr เป็นโปรแกรมที่จะใช้กับระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร เช่นระบบ Access Control ในกรณีที่เกิดของหายภายในFL.สามารถตรวจสอบสถิติการเข้าออกประตู Access Control ตามวันเวลาที่ต้องการว่ามีใครเข้าออกพื้นที่บ้าง
2.SQLBas เป็นข้อมูลของ Database ของระบบซึ่งจะเก็บข้อมูลนี้ไว้ใน File Server ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มจำนวนหรือลดจำนวนได้จาก Workstation
ระบบ ACCESS CONTROL,CARPARK MANAGER
เป็นระบบป้องกันความปลอดภัยที่ติดตั้งภายในอาคารโดย ใช้บัตรแถบแม่เหล็ก(Magnetic Card)พร้อมกับรหัสผ่าน (PIN CODE) สำหรับบุคคลที่ต้องการเข้า-ออกภายในอาคารเพื่อสร้างความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน บุคคลากร ความสะดวกรวดเร็วในการจัดการดูแลรักษาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ องค์กรและสามารถสั่ง Manual เปิดระบบ ACCESS CONTROL ที่ประตูต่างๆได้ที่ PC MONITOR ของระบบ ACCESS CONTROL จะทำการเก็บบันทึกข้อมูลในกรณีที่ต้องการทราบการเข้าออกย้อนหลัง สามารถเรียกดูได้ ในวันเวลานั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น