วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ติดตั้งและสร้าง Application ด้วย Qt for Android ตอนที่ 1

ติดตั้งและสร้าง Application ด้วย Qt for Android
ตอนที่ 1 เริ่มติดตั้ง Qt for Android
00
           สำหรับการสร้าง Application บน Android หลายๆท่านที่สนใจ หรือ ติดตามเรื่องราวการเขียน Application บน Android จะทราบกันดีว่าส่วนใหญ่นั้น เรามักจะพัฒนาด้วยภาษา Java แต่สำหรับอีกหลายๆ ท่านอาจคิดในใจว่า ถ้าเราสามารถ เขียน Application บน Android โดยใช้ภาษา C/C++ แบบที่เราถนัดได้คงจะดีและช่วยลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ได้ในระดับหนึ่ง Qt for Android ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการสร้าง Application บน Android โดยใช้ภาษา C/C++ และจากบทความก่อนหน้านี้ของ ThaiEasyElec ได้พูดถึง Qt ที่ใช้กับ Embedded Linux บนบอร์ด Raspberry Pi ซึ่งก็เป็นการตอกย้ำว่า Qt สามารถใช้งานกับ OS ได้หลากหลายทั้งบน Windows, Linux, Embedded Linux, Android, iOS ดังที่ผู้พัฒนา Qt ใช้คำว่า “Qt Everywhere”
           Qt คือ Development Framework ที่มีเครื่องมือในการออกแบบหน้าของ GUI (Graphical User Interface) ทำให้ผู้ใช้สามารถพัฒนา Application ทั้งบน Desktop, Embedded และ Mobile Platform ได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
01           ข้อจำกัดของ Qt Android คือ Support Android ที่ใช้ API ตั้งแต่ level 9 เป็นต้นไปเท่านั้น สามารถตรวจสอบ API Level ได้ที่ http://developer.android.com/guide/topics/manifest/uses-sdk-element.html#ApiLevels
วิธีติดตั้ง
1. ดาวน์โหลดและติดตั้ง Qt for Android
ตัว Setup Qt for Android โดยสามารถเข้าไป Download Qt ได้ที่   http://qt-project.org/downloads
- คลิก Show Downloads
02 2
- ดาวน์โหลด Qt 5.3.2 for Android (Windows 32-bit, 817 MB) (Info)

03
- เริ่มติดตั้ง Qt เปิดตัว Setup

04
- กด Next

05 06
- เมื่อมาถึงหน้า Select Component ให้เลือกติดตั้ง ดังนี้
07
- ตอบยอมรับ License และกด Next ไปจนถึงหน้า install รอจน install เสร็จ
08 09
10  11
12  13
2. ดาวน์โหลดและติดตั้ง Android SDK
- เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ https://developer.android.com/sdk/index.html

14
- สร้าง folder ชื่อ Android ใน Drive C
- แตก File และ นำไปเก็บใน Folder Android ที่สร้างขึ้น
- เปลี่ยนชื่อ Folder SDK เป็น “AndroidSDK”
15
3. ดาวน์โหลดและติดตั้ง Android NDK
- เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ https://developer.android.com/tools/sdk/ndk/index.html

16
- copy android-ndk.exe ไปเก็บใน Folder c:/Android
- เปิด android-ndk.exe เพื่อแตก File จะได้ Folder android-ndk-r10c
- เปลี่ยนชื่อ Folder android-ndk-r10c เป็น AndroidNDK
17
4. ดาวน์โหลดและติดตั้ง JDK
- เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ http://www.oracle.com/technetwork/articles/javase/index-jsp-138363.html

18
- ยอมรับ License และ เลือกดาวน์โหลดตามสถาปัตยกรรมที่ใช้

19
- จากนั้นทำการติดตั้ง JDK
5. ดาวน์โหลดและติดตั้ง Apache Ant
- เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ http://ant.apache.org/bindownload.cgi

20
- แตกไฟล์แล้วนำไปไว้ในไดเรกทอรี่ c:/Android

21
6. ติดตั้ง SDK Packet
- ไปที่ไดเรกทอรี่ c:/Android/AndroidSDK
- เปิดโปรแกรม SDK Manager.exe

22
- ติดตั้ง Android SDK ตาม Version ของ Android ที่ต้องการพัฒนา (ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเป็น Android 4.3)

23
- คลิก Install packages…

24
- Accept License และ Install

25
- รอจน Download Packet เสร็จ
7. Set environment variable
- ไปที่ Control Panel >> System

26
- เลือก Advance System Setting

27
- คลิกที่ Environment Variables…

28
- คลิกที่ NEW

29
- ตั้งชื่อ Variable name = JAVA_HOME และ Variable value = Path ที่ติดตั้ง JDK (C:\Program Files\Java\jdk1.8.0_20)

30
- เพิ่ม Variable Path โดย คลิกเลือกที่ Variable Path จากนั้นคลิกปุ่ม Edit

31
- เพิ่ม path C:\Program Files\Java\jdk1.8.0_20\bin; ลงไปต่อท้ายของช่อง Variable value
32
- เพิ่ม path C:\Android\AndroidSDK\sdk\tools;ลงไปต่อท้ายของช่อง Variable value
33
- เพิ่ม path C:\Android\AndroidSDK\sdk\platform-tools;ลงไปต่อท้ายของช่อง Variable value
35
- เพิ่ม path C:\Qt\Qt5.3.2\5.3\mingw482_32\bin;ลงไปต่อท้ายของช่อง Variable value
36
- คลิก OK
37
39
38 












 ที่มา:http://www.thaieasyelec.com/article-wiki-th/electronic-article /13-embedded-electronics-application/140-create-application-with-qt-for-android-chapter-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น