นิพจน์ คือ การนำค่าคงที่ ตัวแปร และตัวดำเนินการมาเขียนประกอบกัน เพื่อให้ตัวแปรภาษาสามารถเข้าใจและคำนวณหาผลลัพธ์ได้ตามที่เราต้องการ
ตัวอย่างที่ 2.6 ถ้าต้องการหาค่าจากสูตร a2+2ab+b2 เมื่อ a=2, b=3 เราจะต้องเขียนสูตรดังกล่าวให้เป็นนิพจน์ดังนี้สำหรับฟังก์ชัน pow(x,y) เป็นฟังก์ชันที่ใช้หาค่าตัวเลขที่อยู่ในรูปเลขยกกำลัง
a*a+2 *a *b+b*b ……………………..…………………………… แบบที่ 1
หรือ pow(a,2) + 2 *a *b + pow(b,2) ……………………………… แบบที่ 2
โดยที่ x เป็นเลขฐานซึ่งจะต้องมีค่าเป็นเลขจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ก็ได้
y เป็นเลขยกกำลังซึ่งอาจจะเป็นเลขจำนวนเต็มบวกหรือลบก็ได้
ดังนั้น pow(x,y) หมายถึง xy ส่วน pow(a,2) หมายถึง a2 และ pow(b,2) หมายถึง b2
ข้อควรระวัง ก่อนที่เราจะใช้ฟังก์ชัน pow(x,y) นี้จะต้องใช้คำสั่ง #include<math.h> อยู่บนส่วนต้นของโปรแกรม เพื่อนำแฟ้ม math.h เข้ามาไว้ในโปรแกรมภาษา C ก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดข้อผิดพลาดในการแปลโปรแกรมได้เพราะไม่สามารถหาฟังก์ชัน pow(x,y) ได้
ตัวอย่างที่ 2.7 แสดงนิพจน์ตัวอย่าง ซึ่งมีอยู่หลายชนิดตังต่อไปนี้
1) a+b*10+(3*c)*8 /* นิพจน์ทางคณิตศาสตร์*/ตัวอย่างที่ 2.8 แสดงการหาค่าผลลัพธ์จากนิพจน์ในภาษา C
2) (m>=n)&&(x<y) /* นิพจน์เชิงตรรกะและนิพจน์เชิงเปรียบเทียบความสัมพันธ์*/
3) !(k==25) /* นิพจน์เชิงตรรกะและนิพจน์เชิงเปรียบเทียบความสัมพันธ์*/
4) !(p) /* นิพจน์เชิงตรรกะ*/
5) (i>10)||(j<5) /* นิพจน์เชิงตรรกะและนิพจน์เชิงเปรียบเทียบ*/
6) if (y==z) /* นิพจน์เงื่อนไข*/
กำหนดให้ int x=5, y=8, z=9;
1) x+(y*z) ผลลัพธ์คือ 77
2) x+y*z+x*3 ผลลัพธ์คือ 92
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น