ในเนื้อหาฟังก์ชันการแสดงผลข้อมูลของภาษา C มีฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพอยู่หลายฟังก์ชันที่จะกล่าว ถึง ดังนี้คือ ฟังก์ชัน printf( ), ฟังก์ชัน putchar( ) และฟังก์ชัน puts( ) ซึ่งแต่ละฟังก์ชันมีรายละเอียดของการใช้งานดังนี้
3.2.1 ฟังก์ชัน printf( )
เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ โดยสามารถกำหนดรหัสรูปแบบข้อมูล (format code) และรหัสควบคุม (control code) ให้เหมาะสมกับข้อมูลและรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ (ดังแสดงในตารางที่ 3.2 และ 3.3)
รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน
printf(control string, argument list);
|
control string คือ รหัสรูปแบบข้อมูลที่ใช้ในการพิมพ์ผลลัพธ์ใช้รหัสเหมือนฟังก์ชัน scanf( ) และในฟังก์ชัน printf( ) นี้ยังสามารถใช้รหัสควบคุมเพื่อช่วยจัดรูปแบบการพิมพ์ผลลัพธ์ให้สวยงามขึ้น โดยที่ control string จะต้องเขียนอยู่ภายใต้เครื่องหมาย “………” (double quotation) เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf( )
argument list คือ ค่าคงที่ หรือตัวแปร หรือนิพจน์ ในกรณีที่มีค่าคงที่ ตัวแปร หรือนิพจน์หลาย ๆ ค่าให้ใช้เครื่องหมาย , (comma) คั่นระหว่างค่าคงที่ ตัวแปร หรือนิพจน์แต่ละค่า
ตารางที่ 3.2 แสดงรหัสรูปแบบข้อมูลที่สามารถใช้ในฟังก์ชัน printf( )
รหัสรูปแบบ
(format code) |
ความหมาย
|
%c
|
ใช้กับข้อมูลชนิดตัวอักขระตัวเดียว (single character : char) |
%d
|
ใช้กับข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม (integer : int) โดยสามารถใช้กับตัวเลขฐาน 10 เท่านั้น |
%e
|
ใช้กับข้อมูลชนิดตัวเลขจุดทศนิยม (floating point : float) |
%f, %lf
|
ใช้กับข้อมูลชนิด float และ double ตามลำดับ |
%g
|
ใช้กับข้อมูลชนิด float |
%h
|
ใช้กับข้อมูลชนิด short integer |
%l
|
ใช้กับข้อมูลชนิด int โดยใช้กับตัวเลขฐาน 8, ฐาน 10 และฐาน 16 |
%o
|
ใช้กับข้อมูลชนิด int โดยสามารถใช้กับตัวเลขฐาน 8 เท่านั้น |
%u
|
ใช้กับข้อมูลชนิด unsigned int โดยใช้กับตัวเลขฐาน 10 เท่านั้น |
%x
|
ใช้กับข้อมูลชนิด int โดยสามารถใช้กับตัวเลขฐาน 16 เท่านั้น |
%s
|
ใช้แสดงข้อมูลชนิด string |
%p
|
ใช้แสดงค่า address ของตัวแปรพอย์นเตอร์ |
ตารางที่ 3.3 แสดงรหัสควบคุมข้อมูลที่สามารถใช้ในฟังก์ชัน printf( )
รหัสควบคุม (control code) |
ความหมาย |
ค่า ASCII
|
\a | Bell |
007
|
\b | Backspace |
008
|
\t | Horizontal tab |
009
|
\n | Newline (line feed) |
010
|
\v | Vertical tab |
011
|
\f | From feed |
012
|
\r | Carriage return |
013
|
\” | Quotation mark (“) |
034
|
\’ | Apostrophe (‘) |
039
|
\? | Question mark (?) |
063
|
\\ | Backslash (\) |
092
|
\0 | Null (ศูนย์) |
000
|
\ooo | Octal number (o) |
-
|
\xhh | Hexadecimal number (h) |
-
|
เพื่อให้เกิดความเข้าใจการใช้งานฟังก์ชัน printf( ) ได้ดียิ่งขึ้นควรศึกษาโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.8, 3.9 และ 3.10 ดังต่อไปนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 3.8 แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน printf( ) พิมพ์ข้อความออกแสดงที่จอภาพ
/* printf1.c */ |
||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.8 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 3.9 แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน printf( ) ควบคู่กับ รหัสรูปแบบ %c และ %s เพื่อแสดงข้อมูลที่จอภาพ
บรรทัดที่ 6 คำสั่ง printf(“Welcome to Thailand !!!”); เป็นคำสั่งที่นำข้อความ Welcome to Thailand !!! แสดงที่จอภาพ และหยุดรอรับค่าใด ๆ จากคีย์บอร์ด ซึ่งถ้าเรากด enter ก็จะกลับสู่โปรแกรม
/* printf2.c */ |
||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.9 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 3.10 แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน printf( ) ควบคู่กับ รหัสรูปแบบ %d, %c, %s และ %f เพื่อแสดงข้อมูลที่จอภาพ
บรรทัดที่ 5 ประกาศตัวแปรชนิดอักขระ ชื่อ ch ให้เก็บตัวอักษร A
บรรทัดที่ 6 ประกาศตัวแปรชุดชนิดอักขระ ชื่อ str ให้เก็บข้อความ Computer
บรรทัดที่ 8 ให้นำค่าของตัวแปร ch มาแสดงตรงตำแหน่ง %c ก่อนแสดงให้เว้นช่องว่าง 5 ช่อง และพบ \t \t คือให้เว้น tab ไป 2 ครั้ง (tab 1 ครั้ง มี 8 ช่องว่าง) แล้วค่อยพิมพ์ข้อความ CHARACTER และนำข้อความที่เก็บในตัวแปร str มาแสดงตรงตำแหน่ง %s แล้วหยุดรอรับค่าใด ๆ จากคีย์บอร์ด ซึ่งถ้าเรากด enter ก็จะกลับสู่โปรแกรม
/* printf3.c */ |
||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.10 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
3.2.2 ฟังก์ชัน putchar( )
บรรทัดที่ 10 คำสั่ง b+ = a คือ b = b + a เพราะฉนั้น b = 2 + 5 = 7
คำสั่ง d+ = 5 คือ d = d + 5 เพราะฉนั้น d = ‘K’
คำสั่ง g = f + 2.5 คือ g = 9.5 + 2.5 = 12.0
บรรทัดที่ 11 ใช้ฟังก์ชัน printf( ) พิมพ์ข้อมูลชนิด int ของตัวแปร a และ b โดยใช้รัสควบคุม เป็น %d สำหรับตัวเลข 5 เป็นการบอกให้เว้นช่องว่าง 5 ช่องก่อนแล้วค่อยนำค่าตัวแปร a มาแสดง ส่วนเครื่องหมาย – หน้าตัวเลขเป็นการบอกให้พิมพ์ตัวเลขชิดซ้าย สำหรับรูปแบบการแสดงตัวแปร b
บรรทัดที่ 12 ใช้ฟังก์ชัน printf( ) พิมพ์ข้อมูลชนิด char โดยใช้รหัสควบคุม %c ของตัวแปร c ก่อนแล้วค่อยลดค่าตัวแปรลง 1 และ ++d คือ เพิ่มค่าตัวแปร d ขึ้น 1 ค่าก่อนแล้วค่อยแสดงผลออกจอภาพ
บรรทัดที่ 13 ใช้ฟังก์ชัน printf( ) พิมพ์ข้อมูลชนิด string โดยใช้รหัสควบคุม %s ของตัวแปร e ออกจอภาพ
บรรทัดที่ 14 ใช้ฟังก์ชัน printf( ) พิมพ์ข้อมูลชนิด float โดยใช้รหัสควบคุม %f ของตัวแปร f + 2 คือ 11.500 (%3f คือ ทศนิยม 3 ตำแหน่ง) และแสดงค่าตัวแปร g ออกจอภาพ แล้วหยุดรอรับค่าใด ๆ จากคีย์บอร์ด ซึ่งถ้าเรากด enter ก็จะกลับสู่โปรแกรม
เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกจอภาพทีละ 1 ตัวอักขระ โดยลักษณะของฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่ต้องการ argument 1 ค่าที่เป็นข้อมูลชนิด single character (char)
รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน
putchar(char_argument);
โดยที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจการใช้งานฟังก์ชัน putchar( ) ได้ดียิ่งขึ้นควรศึกษาโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.11 และ 3.12 ดังต่อไปนี้
putchar( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้แสดงผลลัพธ์ทีละ 1 ตัวอักขระออกทางจอภาพ
char_argument คือ ตัวแปรชนิด single character (char)
โปรแกรมตัวอย่างที่ 3.11 แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน putchar( ) เพื่อแสดงข้อมูลออกจอภาพ
/* putchar1.c */ |
||||
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.11 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 3.12 แสดง โปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน putchar( ) เพื่อแสดงข้อมูลออกจอภาพ และแทรกด้วยการใช้ฟังก์ชัน printf( ) ก่อนนำข้อมูลออกแสดงผล
บรรทัดที่ 8 ใช้ฟังก์ชัน getche( ) โดยนำค่าที่รับจากคีย์บอร์ดไปเก็บไว้ในตัวแปร p
บรรทัดที่ 10 ใช้ฟังก์ชัน putchar( ) โดยนำค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร p ออกแสดงผลที่จอภาพตรงตำแหน่ง %c ในฟังก์ชัน printf( ) ของบรรทัดที่ 9 แล้วหยุดรอรับค่าใด ๆ จากคีย์บอร์ด ซึ่งถ้าเรากด enter ก็จะกลับสู่โปรแกรม
/* putchar2.c */ |
||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
โปรแกรมตัวอย่างที่ 3.12 จะทำงานคล้ายกับโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.11 โดยการเก็บค่าที่รับจากคีย์บอร์ดไว้ในตัวแปร แล้วนำค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรออกแสดงผลด้วยฟังก์ชัน putchar( ) ซึ่งก่อนจะแสดงผลมีการใช้ฟังก์ชัน printf( ) พิมพ์ข้อความ Thank you !!! ออกมาแทรกก่อน 1 บรรทัด แล้วหยุดรอรับค่าใด ๆ จากคีย์บอร์ด ซึ่งถ้าเรากด enter ก็จะกลับสู่โปรแกรม
3.2.3 ฟังก์ชัน puts( )
เป็นฟังก์ชันที่พิมพ์ข้อความออกแสดงทางจอภาพ โดยลักษณะของฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่ต้องการ argument 1 ค่าที่เป็นชนิดข้อความ (string constant)
รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน
puts(string_argument);
โดยที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจการใช้งานฟังก์ชัน puts( ) ได้ดียิ่งขึ้นควรศึกษาโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.13 ดังต่อไปนี้
puts( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้พิมพ์ข้อความออกทางจอภาพ
string_argument คือ ค่าคงที่ชนิดสตริง (string constant) ซึ่งค่าคงที่สตริงนี้จะถูกพิมพ์ออกแสดงทางจอภาพผ่านฟังก์ชัน puts( )
โปรแกรมตัวอย่างที่ 3.13 แสดงโปรแกรมการใช้ฟังก์ชัน puts( )
/* puts1.c / |
||||
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 3.13 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
บรรทัดที่ 6 ใช้ฟังก์ชัน printf( ) พิมพ์ข้อความออกจอภาพ คือ Computer Programming Language 1 แสดงที่จอภาพ
บรรทัดที่ 7 ใช้ฟังก์ชัน puts( ) พิมพ์ข้อความ is your course. ต่อท้ายของฟังก์ชัน printf( ) ในบรรทัดที่ 6 จะได้ Computer Programming Language 1 is your course. แล้วหยุดรอรับค่าใด ๆ จากคีย์บอร์ด ซึ่งถ้าเรากด enter ก็จะกลับสู่โปรแกรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น