ข้อมูลแบบโครงสร้างและยูเนียน
สำหรับในบทนี้จะกล่าวถึง
ข้อมูลแบบโครงสร้าง (structures)
ซึ่งเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะสำคัญ คือ สามารถรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ
ชนิดเข้ามาเก็บไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการจัดการข้อมูลต่างชนิดกัน
และช่วยในการจัดเก็บข้อมูลแบบ record
ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการแฟ้มข้อมูลต่อไป
ส่วนในตอนท้ายของบทนี้จะกล่าวถึงข้อมูลแบบยูเนียน(unions)
ซึ่งเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำให้เราสามารถใช้ตัวแปรหลาย ๆ ชนิด
ภายในเนื้อที่เดียวกัน ทำให้การใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำลดลง
และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
8.1 ความหมายและลักษณะของข้อมูลแบบโครงสร้าง
ข้อมูลแบบโครงสร้าง คือ
ข้อมูลชนิดหนึ่งที่เกิดจากการรวบรวมตัวแปรหลาย ๆ ชนิดมาเก็บไว้ด้วยกัน
โดยเก็บไว้ภายใต้ชื่อโครงสร้าง (structure name) เดียวกันตัวอย่างที่ 8.1 ต้องการเก็บข้อมูลของพนักงานแต่ละคนซึ่งประกอบด้วย ชื่อพนักงาน ตำแหน่ง และเงินเดือน จำนวน 10 คน
ดังนั้นข้อมูลของพนักงานคนที่ 1, 2, 3…, 10 จะมีโครงสร้างแฟ้มข้อมูลดังนี้ คือ
ตารางที่ 8.1 แสดงโครงสร้างแฟ้มข้อมูลของพนักงาน
คนที่
|
ชื่อพนักงาน
(ตัวแปรตัวที่ 1) |
ตำแหน่ง
(ตัวแปรตัวที่ 2) |
เงินเดือน
(ตัวแปรตัวที่ 3) |
1
2 3 …. 10 |
นาย ก.
นาย ข. นาย ค. ……… นาย ช. |
ผู้จัดการทั่วไป
โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ …………………. นักบัญชี |
20,000
10,000 12,000 ………. 15,000 |
จะเห็นว่าข้อมูลของพนักงานแต่ละคนจะมีตัวแปรทั้งหมด 3 ตัวแปร คือ ตัวแปรที่เก็บชื่อพนักงาน ตัวแปรที่เก็บตำแหน่ง และตัวแปรที่เก็บเงินเดือน ตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้เราสามารถนำข้อมูลของพนักงานแต่ละคนมาจัดเป็นข้อมูลแบบโครง สร้างได้ดังนี้
ตารางที่ 8.2 แสดงข้อมูลแบบโครงสร้าง
ข้อมูล
(data) |
ชื่อตัวแปร
(variable name) |
ชนิดตัวแปร
(type of variable) |
ชื่อพนักงาน
ตำแหน่ง เงินเดือน |
emp_name
position salary |
string
string integer(int) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น