วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ
 บางตัวจะพิมพ์บอกค่าตัวเก็บประจุที่ตัว อุปกรณ์เลย ซึ่งถ้าจะทำอย่างนั้นได้ต้องเป็นตัวเก็บประจุที่มีเนื้อที่พอที่จะให้พิมพ์ ค่าไว้บนตัวอุปกรณ์ได้ รวมถึงค่าแรงดันที่ใช้งาน
แล้วในกรณีที่พื้นที่ของตัวเก็บประจุไม่พอหรือไม่เหมาะที่จะพิมพ์ตัว หนังสือเยอะแยะ จะทำยังไง! ก็มีคนคิดค้นรหัส 3 หลักพิมพ์ติดไว้ที่ตัวเก็บประจุเพื่อเป็นการบอกค่าในหน่วยพิโคฟารัด(pF) เท่านั้น โดยที่รหัสสองตัวแรกจะเป็นจำนวนตัวเลข ส่วนตำแหน่งที่ 3 จะบอกเป็นจำนวนเลขศูนย์ จากนั้นก็ใส่หน่วยพิโคฟารัดต่อท้ายได้เลย เช่น 103 จะเท่ากับ 10000 pF แต่บางตัวก็บอกแค่2 รหัส นั่นหมายความว่าค่าของตัวเก็บประจุไม่มีเลขศูนย์ต่อท้าย ให้ใช้ค่า 2 หลักแรกเป็นค่าตัวเก็บประจุเลย เช่น 22 จะเท่ากับ 22 pF ซึ่งไม่มีตำแหน่งที่ 3 ก็ไม่ต้องใส่เลขศูนย์ไป ส่วนหน่วยก็ยังเหมือนเดิมคือ pF.
สำหรับตัวเก็บประจุที่มีค่ามากกว่า 1000 pF ทางผู้จำหน่ายอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะมีรายการบอกเป็น uF สำหรับใครที่ยังไม่ชำนาญในเรื่องหน่วยอาจจะต้องหัดหน่อย เพราะเวลาอ่านค่าที่ได้จากตัวอุปกรณ์จะมีหน่วยเป็นพิโคฟารัด ซึ่งผมได้เตรียมค่าตารางแปลงหน่วยของตัวเก็บประจุไว้ข้างล่างแล้ว ซึ่งเป็นรายการที่ใช้บ่อยๆ ส่วนใครไม่อยากจำหรือนำมาดูบ่อยๆ ต้องหัดแปลงหน่วยให้เป็นนะครับ
  Capacitor Value Referrence
 Marking  Value
 nn (number 01 – 99)  nn pF
101  100 pF
102  0.001 μF
103  0.01 μF
104  0.1 μF
221  220 pF
222  0.0022 μF
223  0.022 μF
224  0.22 μF
331  330 pF
332  0.0033 μF
333  0.033 μF
334  0.33 μF
471  470 pF
472  0.0047 μF
473  0.047 μF
474  0.47 μF

สำหรับการบอกค่าตัวเก็บประจุยัง มีอีกแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นกัน โดยใช้ตัวเลข 2 ตัวและตัวอักษร ยกตัวอย่างเช่น 4R1 ค่าที่ได้ให้เปลี่ยน R เป็นจุดทศนิยมจะได้ค่า 4.1 ซึ่งการบอกแบบนี้จะไม่บอกหน่วยมาด้วย ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งไมโครฟารัดและพิโคฟารัด อันนี้ต้องลองเอาไปวัดกับมิเตอร์ที่วัดค่าตัวเก็บประจุได้
มาถึงตัวสุดท้ายคือค่าความผิดพลาด โดยจะบอกค่าเป็นตัวอักษรตำแหน่งที่ 4 หลังตัวเลขสามหลักแรก เช่น 103Z จะมีความหมายว่า ซึ่งค่าที่อ่านได้อาจจะมีค่า +80% หรือ -20% ของ0.01 μF ซึ่งค่าความผิดพลาดและความหมายของแต่ละตัวอักษร แสดงตามตารางข้างล่าง
  Capacitor Tolerance Markings
 Code  Tolerance
B  +/– 0.1 pF
C +/– 0.25 pF
D +/– 0.5 pF
F +/– 1 per cent
G +/– 2 per cent
J +/– 5 per cent
K +/– 10 per cent
M +/– 20 per cent
Z + 80 per cent, –20 per cent

capacitor-code

สำหรับการใช้งานตัวเก็บประจุนั้นมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นไดอิเล็กทริกที่ใช้กั้นระหว่างแผ่นเพลท ซึ่งถ้าในวงจรที่คุณต่อมีการระบุชนิดของตัวเก็บประจุแล้วแนะนำให้เลือกใช้ ตามที่ออกแบบมานะครับ แม้ว่ามันอาจจะใช้แทนกันได้ แต่อาจใช้ได้ในระยะสั้นๆ ถ้าในระยะยาวแล้วอาจมีปัญหาเรื่องความเสถียรได้ สำหรับตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลต์ จะเป็นตัวเก็ฐประจุแบบมีขั้ว ดังนั้นเวลาต่อใช้งานจำเป็นที่จะต้องดูขั้วให้ดี ซึ่งตำแหน่งขั้วลบจะมีเครื่องหมายบอกอยู่ที่ตัวอุปกรณ์แล้ว

capacitor-types
หน้าตาของตัวเก็บประจุแบบต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น