งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
การออกแบบโปรแกรม ALTIUM แบบ 3 มิติ
การออกแบบโปรแกรม ALTIUM แบบ 3 มิติ
การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ในงานอิเล็กทรอนิกส์ คือ การผสมผสานด้วยศาสตร์ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และศิลปะในการวางอุปกรณ์ให้ดูมีระเบียบเรียบร้อย ความสวยงาม
ผู้เขียนขอนิยามการออกแบบ
PCB
ว่าเป็นงานศิลป์ของวิศวกร เป็นผลรวมจากความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติในการออกแบบเกิดจากสัญชาติญาณ เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะในขณะที่กำลังออกแบบนั้น คุณอาจจะไม่สังเกตและรู้สึกเลยว่าเป็นการทำงานที่ไม่ได้สร้างความเหน็ดเหนื่อยเลย ผลที่ได้จากการคิด รูปทรง ทิศทางของลายทองแดง และ อารมณ์ของการปรุงแต่งต่างๆ ด้วยวิศวกรรม เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีระดับและสร้างนวัตกรรมนั้นเป็นผลลัพธ์ที่สร้างความภูมิใจอย่างยิ่ง
แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะครับ หากออกแบบ
PCB
ของคุณ ทำได้เพียงเห็นลายเส้นทองแดงและภาพอุปกรณ์ที่แบนราบ ไร้ชีวิตชีวา ด้วยเหตุนี้คุณจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อให้ผลงาน
PCB
คุณออกมาแบบถูกต้อง ชัดเจนและแม่นยำมากที่สุด ความยุ่งยากของทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าคุณใช้ระบบการออกแบบ
PCB
แบบ
3D
รูปที่
1
ตัวอย่างไฟล์
3D component
การออกแบบ
PCB
โดยนำ
3D Component
ในโปรแกรม
Altium
ในบทความนี้ผู้เขียนจะแนะนำการโดยการนำ
Part 3D
มาใช้งานใน
PCB Library
เพื่อนำไปออกแบบ
PCB
เพื่อให้เห็นภาพของอุปกรณ์จริง หากศึกษาเพิ่มจากของเดิมอีกนิดจะรู้ว่ามันเป็นเรื่องไม่ยากครับ แค่หาไฟล์
3D
ของ
component
ให้ได้แค่นั้น เมื่อได้แล้วก็
Import
ลงใน
Component
ที่ต้องการเหมือนกับการออกแบบ
2D
และทำการจัดวางอุปกรณ์ให้ตรงตำแหน่งเท่านั้น แล้วก็สร้าง
PCB
ได้เลย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
การเตรียมไฟล์ เพื่อนำไปใช้งานใน
Altium
คำถามแรกในการออกแบบ
PCB
ในรูบแบบ
3D
คือ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ใน
Altium
นั้นเป็นแบบรูปแบบใด คำตอบคือ เป็นไฟล์ที่ว่านี้จะเป็นนามสกุล
Step
แล้วคำถามต่อมา คือ เราจะหาไฟล์
Step
นี้ได้จากที่ใด ไม่ยากครับ หาจากเว็บไซต์ หรือ สร้างขึ้นมาเองตามต้องการ โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะขอใช้โปรแกรมสร้างไฟล์
Step
ด้วย
Solidworks
รูปที่
2
หน้าเว็บที่ใช้ดาวน์โหลด
3D component
รูปที่
3
กำหนด
Email
และกำหนด
Password
รูปที่
4
ป้อนรายละเอียดของผู้สมัคร
ดาวน์โหลดไฟล์
3D Step
ดังที่กล่าวไว้ว่าไฟล์
Step
นี้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ ซึ่งผู้เขียนขอแนะนำให้ไปดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์
http://www.3dcontentcentral.com/
แต่ก่อนจะโหลดได้ก็ต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยกด
Sign Up
ได้เลยครับ เมื่อกรอกข้อมูล
Email
และกำหนด
Password
แล้วใน
Step 1
ก็กด
Next
เพื่อดำเนินการ
Step 2
ต่อไป
ในส่วนของการเลือกชนิดไฟล์ที่เป็นไฟล์ในการ
Upload
หรือ
Download (*Primary CAD package used)
ให้เลือกเป็น
Solidworks
เนื่องจากเขียนจะขอใช้โปรแกรม
Solidworks
ในการเปลี่ยนแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ
Step (*.Stp)
เพื่อเป็นไฟล์ที่จะนำไปใช้งานในโปรแกรม
Altium
ต่อไป ข้อดีในการโหลดไฟล์
3D
ในรูปแบบอื่น คือ สามารถแก้ไข ปรับแต่งอุปกรณ์ได้ แต่ถ้าโหลดไฟล์
Step
ตั้งแต่แรกมาจะไม่สามารถแก้ไขขนาดใดๆ ได้นั่นเองครับ
เมื่อได้
Log in
แล้ว ต่อไปลองเริ่มค้นหาอุปกรณ์ที่ต้องการมาเก็บไว้ก่อนนะครับ ในขั้นตอนนี้ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างการดาวน์โหลด
Port USB
มาใช้งาน ซึ่งภาพตัวอย่างที่นำมานี้ได้มาจากเว็บไซต์
www.es.co.th
ซึ่งเป็นร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านเรา
รูปที่
5 USB Connector A Type 4Pins Female (Horizontal) Right Angle DIP
รูปที่
6
ใส่ข้อความในช่องค้นหา
รูปที่
7
ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาชื่ออุปกรณ์
รูปที่
8
ทดสอบเลือกอุปกรณ์เพื่อดูรายละเอียด
รูปที่
6
เป็นช่องใส่ข้อความสำหรับค้นหาอุปกรณ์ที่ต้องการ ซึ่งจะต้องเลือกอุปกรณ์จากผลลัพธ์ที่แสดงว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ ถ้าหากใช่ก็คลิกเข้าไปดูในรายการนั้นต่อได้เลย จากรูปที่
8
จะเห็นว่าเมื่อเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการแล้ว เราจะสามารถดูรายละเอียดต่างๆ ได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้เราสามารถเลือกรูปแบบ ชนิดไฟล์และเวอร์ชันได้ แต่ผู้เขียนขอเลือกไว้เป็น
Solidworks
ไว้เป็นค่า
Defualt
เผื่อเอาไว้หากต้องการแก้ไขในภายหลัง แต่ถึงอย่างไรก็สามารถโหลด
Step
ไปใช้งานได้เช่นกัน หลังจากดาวน์โหลดแล้วให้ทดลองเปิดดูด้วยโปรแกรม
Solidworks
รูปที่
9
ผลการโหลดไฟล์ด้านซ้ายคือไฟล์
Solidworks
ส่วนด้านขวาคือไฟล์
Step
รูปที่
10 Datasheet
สำหรับรีเลย์ที่นำมาสร้างอุปกรณ์
รูปที่
11
อุปกรณ์ที่สร้างจากโปรแกรม
Solidworks
รูปที่
12
การ
Save
อุปกรณ์ในรูปแบบไฟล์
Step
การสร้างไฟล์
Step
โดยใช้
Solidworks
หลังจากที่ได้ยกตัวอย่างการดาวน์โหลดไฟล์มาใช้งานแล้ว ขั้นตอนนี้จะเป็นการสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาใช้งานเอง ซึ่งขอยกตัวอย่าง
Relay
ดังแสดงรายละเอียดในรูปที่
10
และจะทำการสร้าง
Step
จากโปรแกรม
Solidworks
เนื่องจากค้นหาในเว็บไซต์แล้วไม่ตรงรุ่นที่ต้องการเลย หลังจากที่ขึ้นรูปอุปกรณ์แล้วจะได้ดังแสดงในรูปที่
11
เมื่อได้อุปกรณ์ตามแบบที่ต้องการแล้วให้
Save
ไฟล์งานก่อน แล้วใช้คำสั่ง
Save as
แล้วเลือกชนิดไฟล์เป็น
Step
ก็จะได้ไฟล์
Step
ไว้ใช้งานแล้วครับ
รูปที่
13
เปิดไฟล์
PCB Library
ที่ต้องการใส่
3D
รูปที่
14
หน้าต่าง
3D Body
การนำไฟล์
Step
มาใช้งานใน
Altium
ในส่วนนี้เราต้องเตรียมความพร้อมในส่วนของ
PCB Library
ก่อนด้วยการสร้าง
Foot Print
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเป็น
USB Connector A- Female
ซึ่งได้ดาวน์โหลดมาแล้วตั้งแต่ตัวอย่างแรก โดยเราต้องเปิด
component
ที่ต้องการใส่
3D
ขึ้นมาก่อน (ดังรูปที่
13)
จากนั้นเลือกคำสั่ง
Place > 3D Body
จะปรากฏหน้าต่าง
3D Body [mm]
ขึ้นมา (รูปที่
14)
ให้เลือก
Generic STEP Model (
จุดคลิกที่
1
จากรูปที่
14)
และเลือก
Embed STEP Model
เพื่อนำเข้าไฟล์
Step (
จุดคลิกที่
2
จากรูปที่
14)
จากนั้นเลือกไฟล์
Step
และคลิก
Open (
ดังรูปที่
15)
จะปรากฏชื่อไฟล์ขึ้นในกล่องข้อความ
Generic STEP Model(
ดังรูปที่
16)
เมื่อเสร็จแล้วให้ก็กด
OK
ได้เลย จากนั้นหน้าจอจะแสดงดังรูปที่
17
รูปที่
15
เลือกไฟล์
Step
รูปที่
16
ชื่อไฟล์ในกล่องข้อความ
Generic STEP Model
รูปที่
17
อุปกรณ์ที่ได้หลังจากการกำหนดค่าต่างๆ
รูปที่
18
การแสดงภาพแบบ
2D
จากการกดปุ่ม
2
บนคีย์บอร์ด
ขณะนี้หน้าจอ
3D Body
จะแสดงขึ้นมาอีกครั้ง แต่ในรอบนี้ให้กด
“Cancel”
ออกไป เนื่องจากเราจะวางอุปกรณ์เพียงครั้งเดียว ซึ่งการจัดการในขั้นตอนนี้เป็นการจัดวางอุปกรณ์
3D
ใหม่ แต่ก่อนที่จะเริ่มทำขั้นตอนอื่นๆ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างคล่องแคร่วและรวดเร็วจะต้องเรียนรู้
Hot Key
กันเสียก่อน
ปุ่มที่ใช้ในการกำหนดมุมมอง มีดังนี้
·
ปุ่ม
2
แสดงภาพ
2D top view (
ดังรูปที่
18)
·
ปุ่ม
3
แสดงภาพ
3D
·
ปุ่ม
8
แสดงภาพ
3D
ในมุมมอง
Isometric
·
ปุ่ม
9
แสดงภาพ
3D
ในมุมมอง
90
องศา
·
ปุ่ม
Shift (
ค้าง) +
Right Click
สำหรับ
Pan
ในมุม
3D
รูปที่
19
การแสดงภาพแบบ
3D
รูปที่
20
ปรับระดับของ
Standoff Height
รูปที่
21
หน้าต่างกล่องข้อความ
Generic STEP Model
ของ
Standoff Height
รูปที่
22
ภาพอุปกรณ์หลังจากที่มีการปรับแต่ง
Hold
ให้ลองปรับมุมของอุปกรณ์
3D
ก่อน ดังตัวอย่างในรูปที่
19
ให้
Double Click
ที่รูป
3D
ต่อไปทำการปรับระดับของ
Standoff Height
เพื่อยกระดับ
3D
ให้ถูกตำแหน่งจะได้ผลลัพธ์ดังรูปที่
20
โดยจะเห็นว่าตัว
Copper Hold
ไม่สามารถวางอุปกรณ์ลงได้ตามที่วางไว้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการปรับแต่ง
Hold
ใหม่เพี่อให้วางอุปกรณ์ได้พอดีตามความเหมาะสมของอุปกรณ์แต่ในส่วนนี้จะไม่แสดงให้เห็นนะครับ
หลังจากที่เราวางอุปกรณ์
3D
ลงใน
Component
และนำไปทำ
PCB
แล้ว ตัวอย่างผลการใช้งาน
Part 3D
จะเป็นในรูปแบบดังรูปที่
25
รูปที่
23
วงจรในรูปแบบไฟล์
Schematic
รูปที่
24
วงจรในรูปแบบไฟล์
PCB
แบบ
2D
รูปที่
25
วงจรในรูปแบบไฟล์
PCB
แบบ
3D
รูปที่
26
การ
Export
ไฟล์เป็น
STEP
รูปที่
27
หน้าต่าง
STEP Export option
การ
Export PCB 3D
เป็นไฟล์
STEP
เพื่อนำไปประกอบกับกล่อง
หลังจากได้ออกแบบไฟล์
PCB
ในรูปแบบ
3D
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้สามารถ
Export PCB
ออกไปเป็นไฟล์
STEP
เพื่อนำไปประกอบกับกล่อง
Enclosure
โดยใช้
Solidworks
ได้ ซึ่งขั้นตอนนี้ทำได้โดยเข้าไปที่เมนู
Export -> STEP 3D (
ดังรูปที่
26)
จากนั้นจะมีหน้าต่าง
STEP Export option
ขึ้นมา ให้ตั้งค่าตามรูปที่
27
เมื่อเสร็จแล้วให้กดปุ่ม
OK
หากไม่มีข้อผิดพลาดจะขึ้นข้อความ
Done (
ดังรูปที่
28)
รูปที่
28
ข้อความแสดงหลังจากที่แปลงเป็นไฟล์
STEP
สำเร็จ
จากเนื้อหาที่ได้นำเสนอไป อยากให้ท่านผู้อ่านได้ทดลองทำดูครับ ใช้เวลาในการเรียนรู้และสร้างทักษะทำความเข้าใจเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผลประโยชน์ จากการใช้งาน
3D component
จะมีเกิดขึ้นแน่นอน ท่านยังสามารถนำแผ่น
PCB
เพื่อนำไปประกอบกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้คล่องตัวมากขึ้น โดยใช้โปรแกรม
3D
ที่ท่านถนัด ซึ่งนอกเหนือจาก
Solidworks
แล้วยังมีโปรแกรม
3D
อีกหลายตัวที่สามารถทำงานได้
อย่างไรก็ตามผู้เขียนอยากให้แนวคิดสำหรับน้องรุ่นใหม่รวมถึงพี่รุ่นเก่า เทคโนโลยีความรู้ในโลกย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วันนี้หากเราไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ก็เท่ากับเดินถอยหลัง เพราะเวลาเดินอยู่ตลอดเวลา หากไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์แล้ว จะเป็นเรื่องดีแน่นอน ดังเช่นที่ท่านได้อ่านบทความนี้ คำอธิบายอาจจะน้อย แต่ใจความที่มีน่าจะมากพอที่จะช่วยท่านให้นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เขียนขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแนวทางชีวิตและแรงพลังงานของท่านด้วยการมองหาเป้าหมายและสร้างมันให้สำเร็จด้วย
3
สิ่งคือ ฝันถึงเป้าหมายและมีใจอยากทำ คิดวางแผนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และลงมือทำทันที ถ้ามี
3
สิ่งนี้ ไม่ว่างานจะยากแค่ไหน ผลลัพธ์ย่อมออกมาดีอย่างแน่นอนครับ แต่หากท่านมีหลายเป้าหมาย อยากให้ท่านเลือกมาเพียง
1
เดียวที่ต้องการ แล้วเริ่มทำสิ่งนั้นจริงจังครับ แล้วท่านจะรู้ว่า สิ่งที่ยาก ยิ่งทำมาก ยิ่งง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น