วิธีการควินแม็กคลัสกี้
(QM)
<< 9.1 หลักการของ (QM)
<< 9.2 ขั้นตอนการลดทอนสมการลอจิกโดยวิธี QM
<< 9.3 การลดทอนสมการลอจิก QM โดยใช้เลขฐานสิบ
<< 9.4 การลดทอนสมการลอจิกที่มีเทอม Don’t Care
<< 9.5 การลดทอนสมการลอจิกที่มีหลายเอาต์พุตโดยวิธี QM
วิธี K-map เป็นวิธีที่ดัดแปลงมาจากทฤษฎีบูลีน โดยใช้วิธีการรวมพื้นที่แทนการใช้กฎของบูลีน ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ การหาคำตอบ
มีกฎเกณฑ์ตายตัวเป็นขั้นเป็นตอน แต่ก็ช้ากับสมการลอจิกที่มีตัวแปรไม่เกิน 6 ตัว และไม่เหมาะที่จะใช้กับสมการที่มีเอาต์พุตมากกว่า 1
เอาต์พุตการลดทอนสมการลอจิกอีกวิธีหนึ่งที่จะกล่าวถึงก็คือ วิธี QM ซึ่งเป็นวิธีที่ดัดแปลงมาจากทฤษฎีบูลีนเช่นเดียวกับวิธี K-map
ต่างกันที่วิธี K-map จะเปลี่ยนจากสมการไปเป็นพื้นที่ ส่วนวิธีQM จะเปรียบเทียบแต่ละเทอมกันโดยตรง เป็นวิธีการที่เหมาะกับสมการ
ลอจิกที่ซับซ้อน มีหลายตัวแปร มีหลายเอาต์พุต แต่มีข้อเสียที่วิธีนี้กฎเกณฑ์ในการหาคำตอบยุ่งยากกว่าวิธีอื่น ทำให้หาคำตอบได้ช้า
การลดทอนสมการลอจิกโดยทฤษฎีบูลีน และ K-map ใช้ได้ทั้งสมการที่อยู่ในรูป Mintem และ Maxterm แต่สำหรับวิธี QM
ที่กล่าวถึงจะใช้กับสมการในรูป Minterm เท่านั้น ถ้าโจทย์กำหนดสมการในรูป Maxterm ต้องเปลี่ยนเป็น Minterm ก่อน แล้วจึงจะ
ลดทอนสมการโดยวิธี QM ได้
|
9.1 หลักการของ (QM) ก่อนที่จะกล่าวถึงหลักการของ QM จะต้องทำความเข้าใจความหมายของคำว่า เทอมประชิด PI และ PI สำคัญ 9.1.1 เทอมประชิด (Adjacent) เทอมประชิด (Adjacent) ก็คือเทอมของตัวแปรที่เมี่อเปลี่ยนเป็นเลขฐานสองแล้ว จะมีตัวเลข ต่างกันเพียง 1 บิต ซึ่งเป็น เทอมที่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ถ้าพิจารณาจาก K-map ก็คือ เทอมที่อยู่ในช่องที่ติดกันนั่นเอง 9.1.2 PI (Prime Implicant) PI หมายถึง การรวมกลุ่มเลข 1 ที่อยู่บน K-map โดยที่สมาชิกทั้งหมดในกลุ่ม จะต้องไม่เป็นกลุ่มย่อยของ PI อื่น(เพียง l PI) ที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่า PI ก็คือกลุ่มของเลข 1 บน K-map ที่ไม่เป็นชุดย่อย (Subset) ของ PI อื่น 9.1.3 PI สำคัญ (Essential Prime Implicant) PI สำคัญ หมายถึง PI ที่มีสมาชิกอย่างน้อย 1 ตัว ไม่ได้เป็นสมาชิกของ PI อื่นพิจารณา K-map รูปที่ 9.1 |
|
จากรูปที่ 9.1 (ก) ประกอบด้วย PI ทั้งหมด 6 PI คือ
|
จำนวน PI ก็คือ จำนวนกลุ่มของเลข 1 ที่รวมกันได้ทั้งหมดบน K-map แต่การเลือกไปใช้งานนั้นจะเลือก PI ไปใช้งาน
เพียงบางตัวเท่านั้นโดยต้องเลือกจำนวน PI ให้น้อยที่สุด ที่สามารถครอบคลุม (Cover) ทุก Minterm ที่อยู่บน K-map
ได้ ซึ่งมีหลักการในการเลือก PI ดังนี้
1.เลือก PI สำคัญทุก PI มาใช้งาน ถ้า PI สำคัญสามารถครอบคลุมเลข 1 บน K-map ได้ครบทุกตัว ไม่ต้องเลือก PI ที่เหลือ
2. กรณี PI สำคัญที่เลือกมาใช้งานตามข้อ 1 ยังไม่สามารถครอบคลุมเลข 1 บน K-map ได้ครบทุกตัว ให้เลือก PI ที่เหลือมาใช้งาน
แต่จำนวน PI ต้องน้อยที่สุด ที่สามารถครอบคลุมเลข 1 ที่เหลือทุกตัวได้
3. นำ PI ที่เลือกทั้งหมดมาบวกกัน (OR) เปลี่ยนแต่ละ PI ไปเป็นตัวแปร ก็จะได้ผลการลดทอนสมการ
จาก K-map รูปที่ 9.1 (ก) PI สำคัญคือ
|
|
จากหลักการที่กล่าวถึงข้างต้น จะดัดแปลงเป็นวิธี QM โดยการนำแต่ละ Minterm ที่กำหนดในสมการเปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง
แล้วทำการเปรียบเทียบ Minterm ทีละคู่เพื่อหา PI จากนั้นจึงทำการเลือก PI มาใช้งาน
<< Go To Top
|
9.2 ขั้นตอนการลดทอนสมการลอจิกโดยวิธี QM
การลดทอนสมการลอจิกโดยวิธี QM มีวิธีการดังนี้
1. จากสมการที่กำหนดต้องเขียนในรูป Minterm เปลี่ยนแต่ละ Minterm ไปเป็นเลขฐานสอง (Binary Code) จัดแบ่ง Minterm
เป็นกลุ่มตามจำนวนเลข 1ใน Minterm นั้น ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีเลข 1จัดไว้ 1 กลุ่ม กลุ่มที่มีเลข 1 จำนวน 1 ตัวจัดไว้ 1 กลุ่ม
กลุ่มที่มีเลข 1 จำนวน 2 ตัว จัดไว้ 1 กลุ่ม เป็นต้น นำไปเขียนลงใน List 1
2. จาก List l Minterm ในกลุ่มที่มีจำนวนเลข 1 ต่างกัน 1 ตัว ให้นำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าMinterm คู่ไหนเป็นเทอมประชิด
(มีบิตต่างกัน 1 บิต) ให้เขียน เครื่องหมาย
|
ตัวอย่างที่ 9.1 จงลดทอนสมการโดยวิธี QM
|
ขั้นตอนที่ 2 รวมกลุ่ม Minterm ที่เป็นเทอมประชิด นำผลการรวมกลุ่มไปเขียนเป็น List 2, 3, ... จนไม่สามารถจะรวบกลุ่มได้อีก
|
จาก List 1 พิจารณา Minterm กลุ่มที่มีจำนวนเลข 1 ต่างกัน 1 ตัว ถ้า Minterm คู่ใดมีบิตต่างกัน 1 บิต
สามารถรวมกลุ่มกัน ได้โดยตัดบิตที่ต่างกันออก นำผลการรวมกลุ่มไปเขียนลงใน List 2 เช่น
|
ขั้นตอนที่ 3 เขียนตารางเลือก PI โดยเขียน PI ในแนวตั้งและเขียน Minterm ที่กำหนดจากโจทย์ในแนวนอน
|
PI1 มาจาก List 3 จัดไว้ 1 กลุ่ม PI2 ถึง PI7 มาจาก List 2 จัดไว้อีก 1 กลุ่ม PI แต่ละตัวสามารถครอบคลุม Mintermใด
ได้บ้างจะ เขียนเครื่องหมาย X ลงในช่องนั้น เช่น
|
ขั้นตอนที่ 4 หา PI สำคัญ
จากตารางในขั้นตอนที่ 3 หา PI สำคัญ โดยพิจารณาตามแนวตั้งของแต่ละ Minterm เพื่อหาช่องที่มีเครื่องหมาย X
เพียงตัวเดียว เช่น ในแนวตั้งของ m9 มีเครื่องหมาย X เพียงตัวเดียวให้เขียนวงกลมล้อมรอบเครื่องหมาย X นั้น พิจารณาตาม
แนวนอนจะได้ว่า
|
ขั้นตอนที่ 5 จากขั้นตอนที่ 4 PI สำคัญคือ
|
|
จากตาราง
|
ขั้นตอนที่ 6 น าPI ที่เลือกมา OR กัน
|
ดังนั้นการเลือก PI มาใช้งานให้ยึดหลักการดังนี้
1. เลือกจำนวน PI ให้น้อยที่สุด เพราะจำนวน PI จะมีผลกับจำนวนเทอมของสมการโดยที่ จำนวน PI = จำนวนเทอมของสมการ
2. ถ้าเลือกตามข้อ l แล้วปรากฏว่า มีคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ ให้เลือกคำตอบที่ PI อยู่ใน List ที่สูงกว่า (List 2 สูงกว่า List 1,
List 3 สูงกว่าList 2 เป็นต้น) เพราะมีจำนวนตัวแปรน้อยกว่าเช่น ถ้าลดทอนสมการแล้วมี 2 คำตอบที่มี PI บางตัวแตกต่างกัน
ให้นำ PI ที่ต่างกันมาเปรียบเทียบกัน สมมุติคำตอบที่ 1เป็น PIที่อยู่ใน List 2 คำตอบที่ 2 เป็น PI ที่อยู่ใน List 4 กรณีเช่นนี้ให้
เลือกคำตอบที่ 2
<< Go To Top
|
9.3 การลดทอนสมการลอจิก QM โดยใช้เลขฐานสิบ
การลดทอนสมการลอจิกวีธี QM ที่กล่าวถึงมาแล้วนั้น เป็นกรณีใช้เลขฐานสอง ถ้าเป็นสมการที่มีหลายตัวแปร จำนวนบิตก็มีมากขึ้น
ทำให้หาคำตอบได้ช้า อาจจะดัดแปลงไปใช้เลขฐานสิบแทนเพราะ Minterm ที่มีบิตต่างกัน 1 บิต ถ้าพิจารณาในรูปเลขฐานสิบก็คือ Minterm
ที่มีค่าแตกต่างกันเท่ากับ
|
ตัวอย่างที่ 9.2 จากสมการลอจิกในตัวอย่างที่ 9.1 จงลดทอนสมการวิธี QM โดยใช้เลขฐานสิบ
วิธีทำ
จากตัวอย่างที่ 9.1
|
9.4 การลดทอนสมการลอจิกที่มีเทอม Don’t Care
การลดทอนสมการลอจิกโดยวิธี QM กรณีที่เทอม Don’t Care รวมอยู่ด้วยนั้น ในขั้นตอนการ แบ่งกลุ่มตามจำนวนตัวเลข 1 ทั้ง
Minterm และ Don’t Care จะนำมาพิจารณาร่วมกัน โดยไม่มีการแยกว่า เทอมใดเป็น Minterm เทอมใดเป็น Don’t Care แต่ใน
ขั้นตอนสร้างตารางเลือก PI ให้เขียนเฉพาะเทอมที่เป็น Minterm ลงในตารางเลือก PI เทอมที่เป็น Don’t Care ให้ตัดออกส่วนการ
กำหนดชื่อ PI ให้กำหนดเฉพาะกลุ่มที่มี Mintermร่วมอยู่ด้วยอย่างน้อย 1 Minterm กลุ่มใดมีเทอมDon’t Care เพียงอย่างเดียวให้ตัดออก
ไม่ต้องกำหนดชื่อ PI
|
ตัวอย่างที่ 9.3 จงลดทอนสมการลอจิกโดยวิธี QM |
9.5 การลดทอนสมการลอจิกที่มีหลายเอาต์พุตโดยวิธี QM
การลดทอนสมการลอจิกที่มีหลายเอาต์พุต จะใช้หลักการเดียวกับกรณีเอาต์พุตเดียวตามที่กล่าวถึงในข้างต้น แต่จะมีความ
ซับซ้อนมากกว่า เพราะต้องพิจารณาการใช้เกตร่วมกันของแต่ละเอาต์พุตด้วยซึ่งมีหลักการดังนี้
1. แต่ละเทอมไม่ว่าจะเป็น Minterm หรือ Don’t Care จะต้องระบุด้วยว่าเป็นสมาชิกของเอาต์พุตใดบ้าง เรียกว่าการ
กำหนด แฟล็ก (Flag)
2. การรวมกลุ่มนอกจากจะเป็นเทอมประชิด (มีบิตต่างกัน 1 บิต) แล้ว ต้องมีแฟล็ก (เอาต์พุต) เหมือนกันอย่างน้อย 1 ตัว
เรียกแฟล็กที่เหมือนกันว่า แฟล็กร่วม (Common Flag) เขียนเครื่องหมาย
|
ตัวอย่างที่ 9.4 จงลดทอนสมการลอจิกที่มี 3 เอาต์พุต โดยวิธี QM พร้อมเขียนวงจรลอจิก
|
จาก List 1
|
การพิจารณาว่า PI แต่ละตัวครอบคลุม Minterm ใดบ้างนั้น จะต้องพิจารณาแฟล็กประกอบด้วย เช่น
|
|
จากสมการข้างต้น ปรากฏว่า PI สำคัญไม่สามารถครอบคลุมได้ครบทุก Minterm ดังนั้นต้องเลือก PI อื่นมาใช้งาน
(เพี่อให้ครอบคลุมครบทุก Minterm) โดยพยายามเลือก PI ให้ใช้งานร่วมกันได้มากที่สุด เช่น f3 ไม่มี PI สำคัญอยู่เลย
ประกอบด้วย
|
|
นำทั้ง 3 เอาต์พุต (
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น