วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ส่วนประกอบของตากับการมองเห็น

ส่วนประกอบของตากับการมองเห็น

ส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างตา
"ตา" เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการมองภาพ มีส่วนประกอบและกลไกในการทำงานค่อนข้างสลับซับซ้อน สำหรับส่วนประกอบหลักที่สำคัญของโครงสร้างตาที่ควรทราบ ได้แก่
1. ขอบตาหรือหนังตา (Eyelids) คือ ผิวหนังบริเวณขอบในสุดของช่องลูกตา (Palpebral Aperture) เป็นผิวหนังส่วนที่บางที่สุดของร่างกายมนุษย์และไวต่อความรู้สึก ทำหน้าที่ปกป้องลูกตาจากสิ่งแปลกปลอม โดยการกระพริบตาและปิดตาอย่างรวดเร็ว ควบคุมปริมาณแสงที่เข้าสู่ตา โดยการหยีหรือหรี่ตา กระจายน้ำตาให้ทั่วลูกตา ในขณะกระพริบตา
2. ขนตา (Eyelashes) ตามปกติขนตาของคนเราจะมีประมาณ 2 – 3 แถว ขึ้นรอบขอบตา ทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ลูกตา
3. เยื่อบุตาขาว (Conjunctiva) มีประโยชน์คือ ทำให้ลูกตามีความเรียบและลื่นขณะกระพริบตา
4. กระจกตา (Cornea) เป็นอวัยวะส่วนสำคัญ ที่มีหน้าที่ในการหักเหแสง มีลักษณะใส ไม่มีเส้นเลือด ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 5 ชั้น เป็นส่วนปลายของเส้นประสาท ทำให้ไวต่อความรู้สึก มี Power ประมาณ + 44.00 D. มีความโค้ง (Base Curve) 7.7 – 7.9 ม.ม.
5. ม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อทึบแสง ประกอบด้วยเม็ดสี (Pigment) จำนวนมาก เป็นส่วนที่ทำให้ตามีสีต่าง ๆ เช่น น้ำตาล , ดำ , ฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและพันธุกรรม
6. รูม่านตา (Pupil) ลักษณะเป็นรูกลมขนาด 4 – 5 ม.ม. อยู่กึ่งกลางม่านตา สามารถหดตัวให้เล็กลงเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมากและขยายใหญ่ขึ้นเมื่อ อยู่ในที่มืด เป็นส่วนที่ยอมให้แสงผ่านเข้าไปในโครงสร้างตาภายใน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะ
7. เลนส์ตา (Crystalline Lens) เป็นส่วนที่มีหน้าที่หักเหแสงและโฟกัสภาพ มีลักษณะคล้ายเลนส์นูนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นส่วนที่มีกระบวนการเพ่ง (Accommodation) เกิดขึ้น โดยการเปลี่ยนรูปร่างให้นูนมากขึ้นหรือแบนลงตามระยะของวัตถุที่มอง มีลักษณะใส, โปร่งแสง Power ของเลนส์ตาขณะไม่มีการเพ่ง = + 19.00 D. Power ของเลนส์ตาขณะเพ่งสูงสุด = + 33.00 D.
8. เส้นเอ็นยึดเลนส์ตา (Suspensory Ligaments) เป็นเส้นเอ็นเล็ก ๆ ที่เหนียว ทำหน้าที่ยึดเลนส์ตาให้อยู่ในตำแหน่งปกติ
9. กล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา (Ciliary Body) เป็นส่วนฐานของม่านตา (IRIS) ทำหน้าที่ช่วยในกระบวนการเพ่ง
10. น้ำช่องลูกตาหน้า (Aqueous Humor) มีลักษณะเป็นของเหลวใส (Liquid) คล้ายน้ำอยู่ระหว่างกระจกตากับเลนส์ตา ทำหน้าที่ช่วยรักษาความโค้งของกระจกตา
11. น้ำวุ้นช่องลูกตาหลัง (Vitreous Humor) มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีความหนืดคล้ายเจล อยู่หลังเลนส์ตา ช่วยรักษารูปทรงของลูกตา (Eyeball) ให้อยู่ในสภาวะปกติ
12. ตาขาว (Sclera) มีลักษณะเป็นสีขาว เป็นชั้นที่มีความหนา , เหนียวและแข็งแรง มีหน้าที่รักษารูปทรงลูกตาและปกป้องโครงสร้างตาภายในทั้งหมด
13. โครอยด์ (Choroid) เป็นชั้นบาง ๆ สีน้ำตาลเข้มถึงดำ ประกอบด้วยเส้นเลือด (Vascular) เป็นจำนวนมาก อยู่กึ่งกลางระหว่างตาขาวกับจอรับภาพ
14. จอรับภาพหรือจอประสาทตา (Retina) คืออวัยวะที่ทำหน้าที่รับภาพคล้ายกับฟิล์มในกล้องถ่ายรูป เป็นชั้นที่อยู่ภายในสุด มีลักษณะเป็นแผ่นบางและใส ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ถึง 10 ชั้น ภายในเรตินาเราจะพบส่วนต่าง ๆ ดังนี้ รอดส์ ( Rods ) ทำหน้าที่รับภาพในตอนกลางคืนหรือในที่มืด โคนส์ (Cones) ทำหน้าที่รับภาพในช่วงกลางวัน มัคคิวล่า (Macula) เป็นส่วนเล็ก ๆ ในเรตินา ขนาด 1 – 2 มม. ปราศจากเส้นเลือด โฟเวีย (Fovea) ศูนย์กลางของมัคคิวล่า จุดที่ปรากฏภาพชัดเจนที่สุด
15. ออพติค ดิสด์ (Optic Disc) เป็นส่วนหัวของเส้นประสาท มีลักษณะกลมหรือรี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ จุดบอดของตา ” คือไม่มีการมองเห็นเกิดขึ้น หากแสงไปตกบริเวณนี้
16. ออพติค คัพ (Optic Cup) อยู่บริเวณศูนย์กลาง “ จุดบอดของตา ” มีรูปร่างคล้ายกรวย เป็นส่วนที่เส้นประสาทตาแยกออกจากกัน
17. เส้นประสาทตา (Optic Nerve) เป็นเส้นประสาทที่มีหน้าที่นำภาพทั้งหมดที่ปรากฏขึ้นไปสู่สมอง (Brain) โดยสมองจะทำหน้าที่ แปรผลว่าภาพที่เห็นนั้นคือวัตถุอะไร
18. เส้นเลือด ดำ – แดง (Retinal Vein , Artery) เส้นเลือดแดงทำหน้าที่ลำเลียงอ๊อกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงโครงสร้างตา ภายใน ส่วนเส้นเลือดดำทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเสียออกมาสู่กระบวนการฟอกที่ปอดต่อไป
19. ต่อมผลิตน้ำตา (Lacrimal Gland) ตำแหน่งอยู่บริเวณด้านบนของหางตา ทำหน้าที่ผลิตน้ำตาเพื่อหล่อเลี้ยงผิวตาให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา โดยมีขอบตาทำหน้าที่เกลี่ยน้ำตาให้กระจายทั่วถึงในขณะที่มีการกระพริบตา
20. ท่อระบายน้ำตา (Puncta) เป็นท่ออยู่บริเวณหัวตาบนและล่าง ทำหน้าที่ระบายน้ำตาลงสู่โพรงจมูกและลำคอ
ที่มาhttps://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_power/wiki/bbf18/_.html
การมองเห็น

ดวงตากับการมองเห็น
ดวงตาช่วยให้เรามองเห็นรอบตัวได้อย่างไร
การมองเห็นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีแสงจากวัตถุที่เรากำลังมองอยู่ตกกระทบกับตัวรับภาพ
ในดวงตา (photoreceptor) และส่งข้อมูลไปยังสมอง สมองส่วนรับภาพจะจัดเรียงแปลผล
ข้อมูล และสร้างเป็นภาพให้รู้สึกมองเห็นได้ ส่วนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเช่นพวกโพรโทซัว แบค
ทีเรีย จะตอบสนองต่อแสงสว่างได้แต่ไม่มีอวัยวะรับภาพ
ความจริงเรื่องดวงตา
ดวงตาที่เราเห็นอยู่บนใบหน้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของลูกตาส่วนที่เหลือจะจมลึกอยู่ในกระดูก
เบ้าตาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นส่วนของ กะโหลกศีรษะเพื่อ
ป้องกันอันตราย ส่วนที่เปิดสู่ภายนอกจะไม่ได้รับการคุ้มกันอันตรายจากกระดูกเบ้าตาแต่จะได้
้รับการชำระล้างด้วยน้ำตาทุกครั้งเมื่อกระพริบตา และมีเปลือกตาปิดคลุมดวงตาไว้เพื่อป้องกัน
ไม่ให้ได้รับอันตราย ส่วนขนตาจะคอยป้องกันฝุ่นละออง ลูกตายังสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้
ในช่องกระบอกตาโดยการทำงานของกล้ามเนื้อตาจำนวนหกมัด นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบ
อื่นๆที่อยู่ภายในเบ้าตาซึ่งได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
โดยเรียงลำดับจากด้านนอกเข้าไปด้านในตามลำดับดังนี้

ผนังลูกตาประกอบด้วยชั้นต่างๆ 3 ชั้นคือ

1.สเคอรา หรือเปลือกลูกตา (sclera)


เป็นชั้นที่ เหนียวแต่ไม่ยืดหยุ่น อยู่ชั้นนอกสุดเห็นเป็นสีขาว ส่วนที่อยู่ด้านหน้ามีลักษณะใส
และนูนออกมาเรียกว่ากระจกตา (cornea) ทำหน้าที่รับและให้แสงผ่านเข้าสู่ภายในกระจก
ตามีความสำคัญมากเพราะถ้าเป็นอันตราย หรือพิการเป็นฝ้าทึบ จะมีผลกระทบต่อการมอง
เห็น ปัจจุบันแพทย์สามารถนำกระจกตาของผู้เสียชีวิตใหม่ๆ ซึ่งได้รับบริจาคมาเปลี่ยนให้กับ
คนที่มีกระจกตาพิการเพื่อให้สามารถมองเห็นได้เหมือนเดิม
2.คอรอยด์ (choroid)

เป็นชั้นที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมาย ส่วนที่ยื่นออกไปด้านหน้าเรียกว่า ซีเลียรีบอดี้ (ciliary
body) ทำหน้าที่สร้างของเหลวที่เรียวว่า เอเควียวฮิวเมอร์ (aqueous humor) เข้าไปอยู่
ในช่องว่างของลูกตาด้านหน้าเลนซ์ โดยปกติของเหลวนี้จะถูกดูดซึมกลับเข้าเส้นเลือดดำของ
ตาโดยผ่านทาง ท่อแคแนลออฟชเลม (canal of Schlemm) ดังนั้นถ้ามีการอุดตันของท่อ
เกิดขึ้นจะทำให้ความดันของของเหลวในลูกตาสูง และเป็นสาเหตุของโรคต้อหิน (glaucoma)
ในชั้นนี้ยังมีรงควัตถุ หรือสารสีแผ่กระจายอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันไม่ให้แสงสว่างทะล
ุผ่านชั้นเรตินาไปยังด้านหลังของลูกตาโดยตรงคนเราจะมีสีตาต่างกันเนื่องจากมีรงควัตถุต่าง
ชนิดกัน
3.จอตาหรือเรตินา (retina)

เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดประกอบด้วยเซลล์ประสาท และเซลล์ซึ่งไวต่อแสงเรียงตัวกันเป็นชั้น
ในช่องว่างของลูกตาด้านหลังของเลนซ์ และส่วนที่ติดกับเรตินามีของเหลวลักษณะคล้าย
วุ้นเรียกว่า วิสเทรียสฮิวเมอร์ (vitreous humor) บรรจุอยู่ ช่วยทำให้ลูกตาคงรูปร่างอยู่ได้
เรตินาทำหน้าที่เป็นจอรับภาพเนื่องจากมีเซลล์รับแสง 2 ชนิดคือ เซลล์รูปแท่ง (rod cell)
(ภาพที่ 3.7) ซึ่งไวต่อการรับแสงสว่าง แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ ส่วนเซลล์์
อีกประเภทหนึ่งเป็นเซลล์รูปกรวย (cone cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แยกความแตกต่างของสีได้
แต่ต้องการแสงสว่างมากจึงบอกสีของวัตถุได้ถูกต้อง จอตาหรือเรตินาข้างหนึ่งจะมีเซลล์รูป
แท่งประมาณ 125 ล้านเซลล์และเซลล์รูปกรวยประมาณ 7 ล้านเซลล์

นอกจากชั้นเรตินาจะมีเซลล์ที่ไวต่อแสงดังกล่าวแล้ว ยังมีเซลล์ประสาทอื่นที่รับกระแส
ประสาทที่รวมกันเป็นมัด เพื่อส่งไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 แล้วส่งต่อไปยังสมองส่วนซี
รีบรัมที่มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการมองเห็น จากภาพที่ 3.8 จะเห็นว่าแสงจะตกกระทบผ่าน
ชั้นเซลล์ปมประสาท (ganglion cells) และ เซลล์ประสาทชนิดสองขั้ว (bipolar cells) แล้ว
จึงจะมาถึงชั้นของเซลล์รูปแท่งและรูปกรวยที่ไวต่อแสงที่เมื่อมีพลังงานแสงมากระตุ้นจะเกิด
การเปลี่ยนแปลงการซึมผ่านของเยื่อบุ (membrane permeability) จนเกิดเป็นกระแส
ประสาทส่งผ่านเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 ไปยังสมองได้

บริเวณด้านหน้าของเลนซ ์(lens) จะมีแผ่นเนื้อเยื่อเรียกว่าม่านตา (iris) ออกมาบังบาง
ส่วนของเลนซ์ (lens)ไว้เหลือบริเวณตรงกลางให้แสงผ่านเข้าไปสู่เลนซ์ (lens)ได้เรียกว่า
รูม่านตา (pupil) ถ้ามองจากภาพที่ 3.4 ซึ่งแสดงรูปด้านข้างของดวงตา จะเห็นว่าด้านหน้า
ของแก้วตาหรือเลนซ์ตามีม่านตา (iris) ยื่นลงมาจากด้านบนและด้านล่างของผนังคอรอยด์
คล้ายกับเป็นผนังกั้นบางส่วนของแก้วตาหรือเลนซ์ เพื่อควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะที่ี่จะ
ผ่านไปสู่เลนซ์ตา โดยม่านตาสามารถเปิดกว้างมากหรือน้อยตามความสว่างของแสงเพื่อเปิด
เป็นช่องกลางที่เหลือมีลักษณะกลมให้แสงผ่านเข้า ถ้าแสงสว่างมากรูม่านตาจะเปิดน้อยแสง
สว่างน้อยรูม่านตาจะเปิดกว้าง

ฉะนั้นขนาดของรูม่านตาจะแคบหรือกว้างขึ้นอยู่กับการหดหรือขยายของกล้ามเนื้อวงหรือ
กล้ามเนื้อที่เรียงตัวตามแนวรัศมีของม่านตา
การนำสัญญาณประสาทเข้าสู่สมอง
กระแสประสาทจากเซลล์รับความรู้สึก (receptor cells) จะถูกส่งผ่านใยประสาท (nerve
fiber) ของเซลล์ปมประสาท (ganglion cells) มารวมเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 (optic
nerve) โดยแต่ละใยประสาทจะมีการเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบตามตำแหน่งที่มาจากเซลล์
รับความรู้สึก (receptor cells) ในเรตินา เมื่อมาถึงบริเวณออฟติกไคแอสมา (optic
chiasma) ใยประสาทที่มาจากเรตินาด้านข้างจมูก จะมีการข้ามไปอยู่ในออฟติกแทรค
(optic tract) ด้านตรงข้าม ออฟติกแทรค (optic tract) จะนำกระแสประสาทไปสู่ แลท
เทอราลเจนนิคูเลทบอดี้ (lateral geniculate body) ในส่วนของทาลามัส (thalamus)
เพื่อซิแนปส์กับเซลล์ประสาทตัวใหม่จากนั้นกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านไปสู่สมองส่วนท้าย
ทอย (visual cortex) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น
สรุป
โฟเวีย(fovea) เป็นบริเวณที่มีเฉพาะเซลล์รูปกรวย ส่วนจุดบอดเป็นบริเวณทางออกของ
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 จากตาไปยังสมองเรียกว่าออฟติกดิสก์ (optic disc) ซึ่งเป็นบริเวณ
ที่ไม่มีเซลล์รับความรู้สึกอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น